การดูแลรักษาทำความสะอาด All-on-4,All-on-6

รากฟันเทียมอยู่ในกระดูกและมีเหงือกมาหุ้ม โดยจะมี periodontal fiber น้อยกว่าในฟันธรรมชาติ ทำให้การยึดเกาะของเหงือกน้อยกว่า ทำให้ร่องเหงือกซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันแบคทีเรียบริเวณคอฟัน มีประสิทธิภาพลดลง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดโรคปริทันต์ได้ง่าย

เมื่อแบคทีเรียลุกลามไปในร่องเหงือก ฟันธรรมชาติซึ่งมีเส้นประสาทและเส้นเลือดจำนวนมากมาเลี้ยง จะมีความรรู้สึกได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ แต่รากฟันเทียมไม่มีความรู้สึกนั้น ทำให้กว่าจะรู้ตัว การลุกลามนั้นได้ลามไปในกระดูกแล้ว ดังนั้น การทำความสะอาดอย่างถูกวิธีและพบทันตแพทย์สม่ำเสมอตามที่ทันตแพทย์นัด เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

การดูแลรากฟันเทียมไม่ว่าจะเป็น all-on-4 ,all-on-6,fixed bridge หรือรากเทียมซี่เดียว จะมีการดูแลคล้ายกับฟันธรรมชาติ โดยมีหลักการสำคัญที่การกำจัดเศษอาหารต่างๆที่ติดตามซอก ,การกำจัดแบคทีเรียในทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นใต้ฐานฟันปลอม รอยต่อ หรือรอบขอบabutment ก่อนที่คราบพลักจะมีการสะสมตัวจนกลายเป็นหินปูนและก่อให้เกิดโรคปริทันต์

โดย

แปรงฟันวันละสองครั้งเช้า-เย็นเหมือนฟันธรรมชาติ

แปรงลิ้นและบริเวณกระพุ้งแก้มเพื่อลดปริมาณแบคทีเรียในช่องปาก

ใช้ Superfloss ร้อยไปบริเวณใต้ฐานของฟันปลอมและขัดถูทำความสะอาด หรือ ใช้แปรงซอกฟันขนาดใหญ่ แปรงบริเวณใต้ฐาน โดยใช้อย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง โดยเฉพาะก่อนนอน เนื่องจากเวลาที่นอน จะมีน้ำลายน้อยลง ทำให้เชื้อแบคทีเรียต่างๆ ก่อตัวได้ง่าย

ใช้ end tuft brush หรือแปรงกระจุกช่วยทำความสะอาดตามแนวเหงือกและรอบๆครอบฟันบนรากฟันเทียม บาร์ หรือ สะพานฟัน

ยาสีฟันควรเลือกแบบที่ผงขัดไม่หยาบ โดยเฉพาะคนไข้ที่มีฟันปลอมอะคริลิก เนื่องจากยาสีฟันแบบผงขัดหยาบจะทำให้อะคริลิก เป็นรอยได้ง่าย

อาจจะใช้กระจกที่มีกำลังขยายและมีไฟเป็นตัวช่วยให้เช็คว่าเราทำความสะอาดได้หมดจดหรือยัง

ใช้เครื่องฉีดน้ำสำหรับช่องปาก (water pick) ฉีดเพื่อทำความสะอาดตามซอกมุมและรอยต่อต่างๆของฟันปลอม

อุปกรณ์ดูแลรากฟันเทียม แตกต่างจากปกติอย่างไร

อุปกรณ์สำหรับดูแลรากฟันเทียม/DENTAL IMPLANT HOME CARE TOOLs จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากปกติคือ จะมีความยืดหยุ่น และมีความอ่อนโยน โดยมักจะเคลือบเรซินบริเวณปลายลวด เพื่อไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนบริเวณรากฟันเทียม และไม่ให้เหงือกรอบรากฟันเทียมบาดเจ็บหรือเกิดรอยถลอก

นอกจากการดูแลด้วยตนเองทุกวันที่บ้านแล้ว ทุกสามถึงหกเดือนต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คและขูดหินปูน เนื่องจากเครื่องมือทำความสะอาดในคลินิกเช่น cavitron หรือ airflow สามารถเข้าไปทำความสะอาดในบริเวณที่เข้าถึงยากได้ดีกว่า

HYGIENE VISIT แพทย์ทำอะไรบ้าง?

โดยใน hygiene visit แพทย์จะทำการตรวจความสะอาด เช็คสกรูรอยต่อต่างๆ เช็คระดับกระดูกด้วยเอกซเรย์ ดูการสบฟัน และข้อต่อขากรรไกรต่างๆ ตรวจดูร่องลึกปริทันต์ที่อาจเกิดขึ้น ประเมินคุณภาพเหงือกและตรวจว่ามีการอักเสบของเหงือกรอบรากเทียมหรือไม่เป็นต้น

นอกจากนี้แพทย์จำทำการใช้เครื่องขูดหินปูนกลุ่ม piezoelectric เช่น cavitron ซึ่งเป็นแรงสั่นสูงร่วมกับหัวขูดไทเทเนียม ในการทำความสะอาด จากนั้นทำการขัดเพื่อให้ผิวเรียบและลื่น เพื่อขจัดแบคทีเรียที่หลงเหลืออยู่

หลังจากทำความสะอาดในบางกรณีแพทย์จะถอดฟันปลอมออกมาทำความสะอาดด้วยเครื่อง ultrasonic cleaser ให้ด้วย,ขันสกรูให้แน่น ปิดรูสกรูด้วย teflon เทป และปิดรูสกรูด้วย composite จากนั้นขัดให้เรียบเพื่อลดการสะสมของคราบแบคทีเรีย