รีวิว เดินทางมาทำ All-on-4 การใส่ฟันทั้งปากแบบติดแน่น ที่กรุงเทพ

การใส่ฟันแบบทั้งปากแบบติดแน่น บนรากฟันเทียม

คนไข้เดินทางมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อมาทำรากฟันเทียมติดแน่น

คนไข้บอกว่าทนทรมานกับฟันปลอมแบบพลาสติกแบบถอดได้เข้า-ออกได้มาทำ ทำให้ไม่มีความสุข

ทานอะไรก็ทานได้แต่นิ่มๆ อยากกลับมาทำอาหารปกติ ก็ยากแสนเข็ญ

แถมออกไปเจอเพื่อนก็ไม่กล้าไปเพราะอาย!

วันแรก วันที่ปรึกษาที่คลินิก

จากการตรวจในช่องปาก พบว่าคนไข้เหลือฟันเพียงซี่เดียว เป็นฟันกรามหลัง ซึ่งเก็บเอาไว้เกี่ยวกับตะขอทำให้ฟันปลอมถอดได้พอยึดอยู่ในช่องปากได้เท่านั้น

หมอจึงทำการเอกซเรย์ดิจิตอล 3D CBCT เพื่อตรวจดูกระดูก

พบว่ากระดูกของคนไข้ ยุบไปพอสมควรเพราะถอนฟันนไปนาน และใส่ฟันปลอม(ฟันปลอมมักมีแรงกดทำให้สันกระดูกละลายเร็วขึ้น)

และทำการแสกนช่องปากด้วยเครื่องแสกนสามมิติ 3Shapes

วางแผนการรักษาด้วยรากฟันเทียม แบบ All-on-4

เคสนี้ถึงกระดูกจะยุบไปพอสมควร แต่ก็ยังพอมีที่สำหรับการใส่รากฟันเทียมได้อยู่

หมอจึงวางแผนที่จะทำ รากฟันเทียมแบบ All-on-4 ซึ่งเป็นการทำรากฟันเทียมเพื่อยึดฟันปลอมแบบติดแน่น

ที่ใช้จำนวนรากฟันเทียมน้อยที่สุด เพียง 4 ราก (ขากรรไกรบน แนะนำให้ใช้อย่างน้อย  4 ราก แต่ถ้ามีกระดูกดี อาจจะเพิ่มเป็น 6 หรือ 8 รากก็ได้)

ครั้งที่2 วันที่ทำการผ่าตัด

หมอทำการผ่าตัดภายใต้ยาชาเฉพาะที่(ฉีดยาชา) โดยทำการใส่รากฟันเทียม ผ่านระบบ Neonavi guided

ใช้รากฟันเทียมสี่ราก โดยใช้ สองรากตรง (บริเวณฟันหน้า) และสองรากเอียง(บริเวณฟันหลัง)

เคสนี้ไม่ได้ทำการปลูกกระดูก เนื่องจากฐานกระดูกหนาเพียงพอสำหรับความแข็งแรงของรากฟันเทียมในระยะยาว

และไม่ได้ยกไซนัสและปลูกกระดูก เนื่องจากใช้การปักรากฟันเทียมเอียงหลบไซนัส

และทำการ Drill แบบ Osseodensification ด้วย  Densah Bur

ทำให้ได้รากฟันเทียมที่มี ความแน่น Primary Stability ที่ดีพอ 

จึงทำการต่อฟันชั่วคราวทันทีในวันเดียวกัน (Immediate loading) โดยใช้ฟันปลอมถอดได้เดิมของคนไข้ มาเชื่อมกับราากฟันเทียมที่เพิ่งใส่ไป

การดูแลหลังการผ่าตัดรากฟันเทียมแบบ All-on-4

หลังจากที่คนไข้ได้ฟันไป ต้องมีข้อปฏิบัติที่ค่อนข้างเคร่งครัด คือ

  • ต้องดูแลรักษาความสะอาดของแผล
  • ทานยาตามที่สั่ง
  • ห้ามรับประทานของแข็งและเหนียวตลอดสองเดือน
  • อาหารที่จะทานได้จะเป็นอาหารเหลว เช่น ซุป หรือ กึ่งแข็งกึ่งเหลว เช่น ข้าวต้ม

ส่วนการตัดไหม หมอใช้เป็นไหมละลายทั้งหมด จึงไม่ได้ตัดไหม่ค่ะ

——————————————รออีกสามเดือน——————————————————

ครั้งที่ 3 พิมพ์ปากบนรากฟันเทียม

เมื่อกลับมาเจอกัน ก็ถึงขั้นตอนการทำฟันชุดถาวรติดแน่นบนรากฟันเทียม

เคสนี้เลือกวัสดุเป็น Hybrid Arcylic on metal framework

ซึ่งจะมีการทำโครงโลหะ ยึดกับรากฟันเทียมที่แข็งแรงแล้วทั้งหมด จากนั้นส่วนของฟันนปลอมจะเป็นเนื้ออะคริลิก

ข้อดีของแบบนี้คือ น้ำหนักเบา แข็งแรง ซ่อมแซมง่าย

—————————————— 1สัปดาห์ ——————————————————

ครั้งที่ 4 ลองโครง

ใช้เวลา 30-60 นาที

หมอจะถอดฟันชุดชั่วคราวออก แล้วทำการลองโครงที่ได้มาจากแลป เพื่อให้มั่นใจว่าโครงไม่มีกระดก และวางบนรากฟันเทียมได้อย่างพอดี และทำการบันทึกการสบฟัน

จากนั้นใส่ฟันชุดชั่วคราวให้คนไข้กลับบ้าน

—————————————— 1สัปดาห์ ——————————————————

ครั้งที่ 5 ลองฟัน

ใช้เวลา 30 นาที

หมอจะลองฟันชุดใหม่ ให้คนไข้ลองใส่ ยิ้ม ออกเสียง

ฟันชุดนี้จะวางบนขี้ผึ้งสีชมพู ทำให้หมอสามารถ ปรับและขยับฟันได้อย่างอิสระ ถ้าคนไข้อยากได้รูปร่างหรือเปลี่ยนตำแหน่ง หมอจะสามารถปรับได้

เมื่อคนไข้พอใจกับรอยยิ้มที่ได้แล้ว ก็จะใส่ฟันชั่วคราวกลับไปให้คนไข้

—————————————— 1สัปดาห์ ——————————————————

ครั้งที่ 6 ใส่ฟัน

ใช้เวลา 30-60 นาที

หลังจากที่ได้ฟันชุดจริงแล้ว หมอจะทำการถอดชั่วคราว ล้างทำความสะอาด Abutment ของรากฟันเทียม จาากนั้นทำการยึดแน่นด้วย Miniscrew

แล้วทำการปิดรูสกรูด้วย เทป PTFE และอุดปิดเป็นนอันเรียบร้อย

Nightguard หมอจะแนะนำให้คนไข้ทำ nightguard ซึ่งเป็น ฟันยางนิ่มๆ ไว้ใส่เพื่อป้องกันการกัดฟัน และป้องกันฟันอะคริลิกแตก

——————————————————————————————-

จากนั้นจะแนะนำให้คนไข้มาตรวจเช็คที่3-6 เดือนค่ะ

Credit

รากฟันเทียม Neobiotech

Computer guided system : Neonavi guided

Densah Bur : Versah

Dental Lab : BN Dental Lab

เคสนี้ประมาณ 210,000 บาทค่ะ