การวางแผนกำหนดตำแหน่งฝังรากเทียมด้วยคอมพิวเตอร์(Computer-guided implant surgery)

Computer-guided implant surgery

นวัตกรรมใหม่ของการผ่าตัดรากฟันเทียม โดยใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบตำแหน่ง เพื่อการรักษารากฟันเทียมอย่างแม่นยำ

รากฟันเทียมเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะทดแทนฟันธรรมชาติ และส่วนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการรักษารากฟันเทียมคือทันตแพทย์จะวางรากเทียมในตำแหน่งที่แน่นอน ตามแผนที่วางไว้ โดยมีขั้นตอนคือทันตแพทย์จะพิมพ์ปากเพื่อจำลองรูปแบบฟันของคนไข้และการถ่ายภาพรังสีสามมิติจากนั้นใช้ข้อมูลทั้งสองอย่างนี้เพื่อระบุตำแหน่งของรากเทียม ด้วย Computer Guided Implant Surgery Planning Software ซอฟต์แวร์การวางแผนรากเทียมจะถูกใช้เพื่อรวมรังสีเอกซ์ภาพถ่ายภายในช่องปากและภาพดิจิทัลของฟันจากนั้นกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของรากฟันเทียม ในขั้นตอนนี้ทันตแพทย์จะสามารถเห็นรายละเอียดที่ครบถ้วนซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริง ทันตแพทย์สามารถวางตำแหน่งรากเทียมในโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากนั้นโอนตำแหน่งดิจิทัลนี้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ไปยังปากของคนไข้ได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ

ขั้นตอนการทำ Computer-guided implant surgery

1.ตรวจช่องปาก และพิมพ์ปาก

เพื่อให้ได้ ไฟล์ดิจิตอลของช่องปาก

2.วางแผนในImplant planning software

ภาพจากการแสกนสามมิติและ ภาพจากเอกซเรย์สามมิติ จะนำมารวมกันใน โปรแกรมวางแผน เมื่อเห็นภาพการจำลองช่องปากของคนไข้แล้ว ทันตแพทย์จะเป็นคนวางแผน และกำหนดตำแหน่ง ของรากเทียม โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณความหนาแน่นของกระดูก อวัยวะโดยรอบ 

เมื่อแผนการรักษาเสร็จสมบูรณ์ ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ guided device ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ 

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบจะช่วยลดเวลาในการรักษา และทำให้ตำแหน่งในการฝังรากเทียมมีความแม่นยำ

ไฟล์เอกซเรย์สามมิติ(3D DIGITAL CBCT) โดยแพทย์จะประเมินความหนาแน่นกระดูก ตำแหน่งเส้นประสาท
ไฟล์การแสกนช่องปากสามมิติ ประเมินความหนาของเหงือก และฟันข้างเคียง
หลังจากเราเอาไฟล์ทั้งสองแหล่งมารวมกันแล้ว ทำให้เสมือนแพทย์ได้เห็นข้อมูลทั้งหมด ทั้งส่วนของกระดูกด้านใน และเหงือกด้านนอก นอกจากนี้ยังสามารถวัดและวางแผนตำแหน่งของรากฟันเทียมที่จะทำการผ่าตัด ทำให้สามารถเลือกขนาดรากฟันเทียม และกำหนดตำแหน่งได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับตำแหน่งฟันที่จะได้ใส่อย่างมีประสิทธิภาพ

3.วันที่ผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

ตอนที่ผ่าตัดแพทย์จะทำการฝังรากเทียมผ่านรูที่ STENT (ดังนั้นตำแหน่งจะเป็นตำแหน่งเดียวกันกับที่ออกแบบไว้ในคอมพิวเตอร์)

STENT จะทำหน้าที่เสมือนเครื่องมือในการถ่ายทอดข้อมูลในคอมพิวเตอร์สู่ ช่องปาก


โดยเปิดเหงือกเป็นช่องเล็กๆแล้ว ใส่รากเทียมทางช่องที่เปิดนั้น

 4. ทำฟันปลอมหรือครอบฟัน

จากนั้นรอตามขั้นตอนปกติ คือ 3–6 เดือน ให้รากเทียม ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี แล้วทำครอบฟันต่อไ

ในบางกรณีอาจจะทำการออกแบบครอบฟันชั่วคราว แล้วทำมาพร้อมกัน กับ STENT หลังจากใส่รากเทียม (โดยเฉพาะฟันหน้า) ก็จะใส่ครอบฟันได้ทันที คนไข้ก็ยิ้มกว้างๆ ได้ทันทีหลังจากรักษา

ข้อดีของการทำ computer guided implant surgery

  • แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุด
  • ลดระยะเวลาในการผ่าตัด เนื่องจากตำแหน่งถูกกำหนดมาแล้ว
  • การรักษาเสร็จเร็วขึ้น
  • ตำแหน่งแม่นยำมากขึ้น
  • แผลเล็กลง เจ็บน้อยลง

การออกแบบด้วยระบบ computer-guided implant surgery มีส่วนช่วยทำให้การรักษาเป็นอย่างราบรื่น และผลการรักษามีประสิทธิผลมาก อย่างไรก็ตามการออกแบบและการผ่าตัดควรทำโดยทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญสูง เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิผลสูงสุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *