ในคนไข้หลายๆคนที่ต้องสูญเสียฟันทั้งปากไม่ว่าจะจากโรคเหงือกฟันผุอุบัติเหตุทำให้ต้องใส่ฟันปลอมเพื่อทดแทนหลายๆคนประสบปัญหาเรื่องฟันปลอมหลวมเคี้ยวแล้วเจ็บฟันปลอมขยับได้ทำให้ทานอะไรก็ไม่อร่อยไม่มีความสุขขาดความมั่นใจในการพูดหรือการใช้ชีวิตประจำวัน
วันนี้เลยจะมาเล่าคร่าวๆว่ารากฟันเทียมช่วยเราได้อย่างไรและใส่ได้แบบไหนบ้าง
1.รากเทียมเพื่อยึดฟันปลอมถอดได้(Overdenture)
โดยจะใช้รากฟันเทียมช่วยยึดให้ฟันปลอมแน่นขึ้นโดยอาจจะใช้locator,ball attachment,bar
โดยจะสามารถถอดฟันปลอมเข้าออกได้ ฐานฟันปลอมจะเล็กลงกว่าเดิม สามารถถอดเข้าออกเพื่อทำความสะอาดได้
ขากรรไกรบนแนะนำใช้สี่รากขึ้นไป ขากรรไกรล่างสามารถใช้สองรากขึ้นไป(ถ้าสองรากฐานฟันปลอมจะยังคงขนาดใหญ่อยู่) ถ้ารากเทียมจำนวนรากเยอะขึ้นก็สามารถลดขนาดฟันปลอมให้เล็กลง
2.รากเทียมเพื่อยึดฟันปลอมแบบติดแน่น(Bridge on implant)
เป็นการใช้รากเทียมยึดสะพานฟันโดยจะเป็นการใส่ฟันแบบติดแน่น ฟันบนและล่างเริ่มโดยมักจะใส่4-6 ราก
3.รากเทียมเพื่อยึดฟันปลอมติดแน่นแบบใส่ทันทีหลังถอนฟัน(Immediate loading ,All-on-4,All-on-6)
โดยถอนฟัน->ใส่รากเทียม->ต่อฟันปลอมทันทีหลังจากฝังรากฟันเทียม(Immediate loading)ฟันที่ต่ออาจจะใช้ฟันปลอมเดิม(ในกรณีคนไข้ไม่มีฟันอยู่แล้ว)หรือพิมพ์ปากเพื่อทำฟันปลอมชุดใหม่(กรณีที่ใส่ฟันหลังจากถอนฟันทันที)แนวการปักAll on 4 ส่วนมากจะปักด้านหลังเฉียงเพื่อหลบโพรงอากาศไซนัสหรือเส้นประสาทเพื่อหลีกเลี่ยงการปลูกกระดูก,การยกไซนัส
ข้อดีของแบบนี้
-ลดจำนวนครั้งในการผ่าตัดสามารถมีฟันได้ทันทีถอนฟัน/หลังจากผ่าตัด
-หลีกเลี่ยงการปลูกกระดูก หรือการผ่าตัดเพื่อยกไซนัส เพื่อลดความซับซ้อนจากการผ่าตัด
หวังว่าหลายๆท่านจะเห็นภาพมากขึ้นว่าการใส่ฟันทั้งปากเป็นแบบไหนบ้าง ไม่ว่าจะใส่มากหรือน้อยหรือเทคนิคไหน อย่างหนึ่งที่มั่นใจได้คือ คนไข้จะมีความสุขขึ้น มั่นใจมากขึ้น ทานอาหารได้มากขึ้นแน่นอน 🙂