Immediate implant placement (การใส่รากเทียมทันทีหลังถอนฟัน)

โดยปกติขั้นตอนของการทำรากฟันเทียม เราจะทำการถอนฟัน แล้วปลูกกระดูกบริเวณที่ถอนฟัน จากนั้นรอประมาณสามถึงหกเดือน แล้วค่อยใส่รากเทียม นอกจากวิธีนี้แล้วยังมีอีกเทคนิคหนึ่งคือ การทำ immediate implant placement คือการใส่รากเทียมทันทีหลังจากถอนฟัน

ส่วนมากจะทำในฟันหน้า แต่ฟันหลังก็ทำได้เช่นกัน โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาคือ

-ไม่มีการอักเสบที่รุนแรงบริเวณที่ใส่รากเทียม

-กระดูกบริเวณที่เหลืออยู่สามารถยึดรากฟันเทียมให้แน่นได้

-ต้องทำการปลูกกระดูกเพื่อปิดช่องที่เหลือ(รากเทียมขนาดจะเล็กกว่าช่องที่ถอนฟัน)เราต้องเติมช่องว่างให้เต็ม

ข้อดีของการทำ immediate implant

ในกรณีที่สามารถทำได้คือ คนไข้ไม่ต้องเจ็บตัวหลายครั้ง และระยะเวลาในการรักษาจะเสร็จเร็วขึ้น

แต่ถ้ากรณีที่ไม่สามารถทำได้ก็ต้องรอเป็นตามขั้นตอนตามปกติต่อไป

แล้วต่อฟันได้เลยไหม??

สำหรับบางกรณีที่รากเทียมแน่นดี อาจจะใช้ Temporary Abutment เชื่อมกับครอบฟันชั่วคราว หรือ ประยุกต์ใช้ฟันเดิมของคนไข้ยึดกับรากฟันเทียม แต่ถ้าไม่แน่นอาจจะใช้ฟันปลอมถอดได้ หรือยึดกับซี่ข้างๆ ดังบทความที่ได้เผยแพร่ก่อนหน้า

ไม่ใช่แค่ฟันหน้า ฟันหลังเองก็สามารถที่จะทำimmediate implant ได้เช่นเดียวกัน แต่ขึ้นอยู่กับกรณีและสภาวะว่าเหมาะสมหรือไม่
ใส่รากทันทีหลังจากถอนฟันทั้งขากรรไกร

ใช้กรณีไหน

จากตัวอย่างจะเห็นว่า การทำเร็วหรือช้า ไม่ได้จำกัดแค่ฟันหน้าแต่สามารถทำได้หลายกรณีขึ้นกับสภาวะของช่องปาก ณ. ขณะนั้นเหมาะสมแบบใด

รากแบบไหนที่เหมาะ

รากเทียมที่ใช้ทำ immediate implant ควรจะเป็นรากเทียมที่มีความคม สามารถเบียดกระดูกและทำให้รากเทียมติดกับกระดูกที่เหลือได้แน่น และสามารถจิกและเบียดกระดูกบริเวณที่ถอนได้ดี เช่น NobelActive หรืออีกระบบที่สามารถทำได้คือ replicate tooth โดยจะทำการทำรากเทียมไทเทเนียมที่รูปร่างเหมือนฟันก่อนถอน โดยใช้ภาพและมิติจาก ภาพเอกซเรย์สามมิติและการแสกนช่องปากสามมิติร่วมกันในการออกแบบ จากนั้นหลังจากเราถอนฟัน เราก็จะเอารากเทียม replicate ที่รูปร่างเหมือนฟันที่ถอนใส่เข้าไปแทน

วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธี ที่มาใหม่มาก ข้อดีคือ แทบจะไม่ต้องปลูกกระดูกหรือถ้าต้องปลูกกระดูกก็น้อยมาก และสามารถใส่รากเทียมได้ทันที ทำให้เจ็บน้อยลง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *