รากฟันเทียม คืออะไร

รากฟันเทียมคืออะไร ฟันหน้า ฟันหลัง ทั้งปาก เจ็บไหม ราคาเท่าไหร่ รักษาที่ไหนดี

แม้ว่าจะไม่มีใครอยากให้เกิดการสูญเสียฟันแท้ขึ้น แต่ถ้าปัญหาเกิดแล้ว ถ้าละเลยและปล่อยทิ้งไว้จะก่อให้เกิดปัญหาระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นฟันล้ม การสบฟันเปลี่ยน หรือ เกิดปัญหากับฟันข้างเคียง

วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟัง ให้ได้มาทำความรู้จักประโยชน์ และ ประสิทธิภาพของ รากฟันเทียม ว่ามีจุดเด่น และ สามารถรักษาฟันแบบไหนได้บ้าง

เลือกหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับรากฟันเทียม

Table of Contents

รากฟันเทียมเป็นการใส่ฟันที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด

รากฟันเทียม คือ อะไร

รากฟันเทียม หรือ ทันตกรรมรากเทียม(dental implant) คือ การทดแทนการสูญเสียฟันแท้ที่สูญเสียไปไปด้วยการผ่าตัด ฝังรากฟันเทียมที่ทำจากโลหะเพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ตรงตำแหน่งที่สูญเสียฟันเเละรากฟันธรรมชาติไป เพื่อเป็นหลักยึดฟันปลอม หรือครอบฟัน ทดแทนฟันที่หลุดไป เพื่อให้ฟันบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันจริง

โดย รากฟันเทียม ทำจาก ทำจากไทเทเนียม(titanium)หรือเซอร์โคเนีย(โลหะสีขาว) ซึ่งรากฟันเทียมนี้ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษทั้งรูปร่างและพื้นผิว ทำให้มีความเข้ากันได้ดีกับร่างกาย เมื่อฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร เซลล์ของกระดูกจะมายึดกับผิวของรากฟันเทียม ทำให้เกิดกระบวนการยึดติด หรือที่เรียกว่า “Osseointegration”

เมื่อรากฟันเทียมติดแน่นกับกระดูกขากรรไกรแล้ว รากฟันเทียมจะทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติเพื่อรองรับฟันปลอม ครอบฟัน หรือสะพานฟัน

ขณะที่การทำฟันปลอมแบบอื่น ๆ อาจจะพบปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมชาติ มีการเคี้ยวอาหารที่ติดขัดอยู่บ่อยๆ รากฟันเทียมเป็นทันตกรรมฟันปลอมแบบติดแน่นที่มีคุณสมบัติเหมือนฟันธรรมชาติ จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ช่วยทำให้ฟันยังคงอยู่ครบ ทานอาหารได้ราบรื่นกว่า ไม่ต้องวุ่นวายถอดฟันปลอม และดูแลทำความสะอาดได้ง่ายแสนง่ายไม่ต่างจากฟันแท้ของเรา โดยเฉพาะถ้าได้รับการดูแลรักษารากฟันเทียมด้วยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะยิ่งทำให้คุณทานอาหารได้ง่าย พูดคุย และยิ้มได้อย่างมั่นใจ

โดยสรุป รากฟันเทียมเป็นฟันปลอมที่ดีที่สุด ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ยึดติดแน่น มีความเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อ ทั้งเหงือกและกระดูกขากรรไกร ทำให้ในปัจจุบันการใส่รากฟันเทียม ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ราคารากฟันเทียม อาจจะสูงกว่าการใส่ฟันชนิดอื่นอยู่บ้าง แต่เมื่อเทียบกับการใช้งานแล้ว พบว่าคงทนและคุ้มค่ามากมาก

รากฟันเทียมทำจากอะไร?

วัสดุที่ใช้ทำรากฟันเทียม

รากฟันเทียม เป็นรากที่ทำจากโลหะ โดยในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการผลิตรากฟันเทียมที่พัฒนา เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของรากฟันเทียมให้ดียิ่งขึ้น

  • Titanium(ไทเทเนี่ยม) เกรด3, ไทเทเนี่ยมเกรด4 ยังคงเป็นวัสดุนิยมที่มาใช้ผลิตรากฟันเทียมมากที่สุดในปัจจุบัน
  • Roxolid หรือ TiZr เป็นเทคโนโลยีของ Straumann โดยเป็นอัลลอยด์หรือโลหะผสมของเซอร์โคเนียมและไทเทเนียม ทำให้รากมีความแข็งแรง และรับแรงบดเคี้ยวได้มากกว่าไทเทเนียมปกติ
  • Trabecular implant ของ Zimmerbiomet
  • Pure zirconia implant ใช้ในบริเวณที่ต้องการความสวยงาม เนื่องจากเป็นโลหะสีขาว ทำให้ไม่สะท้อนสีดำผ่านเหงือก

โดยวัสดุที่นำมาผลิตรากฟันเทียม เป็นวัสดุที่เข้ากันได้กับร่างกายมนุษย์เป็นอย่างดี เมื่อฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติ รากฟันเทียมจะเป็นหลักเพื่อรองรับครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอม เพื่อให้คนไข้ได้กลับมามีฟัน เหมือนได้ฟันแท้กลับมาอีกครั้ง

พื้นผิวของรากฟันเทียม

พื้นผิวของรากฟันเทียมจะมีการพัฒนาเพื่อส่งเสริมกระบวนการยึดติด(Osseointegration)ให้ดีขึ้น เร็วขึ้น โดยจะมีการเตรียมพื้นผิวด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น SLA-Sandblast Large grid -Acidetchโดยจะนำไทเทเนียมมาพ่นทรายและแช่ในกรด ,Anodize-การใช้กระแสไฟฟ้า เพื่อต้องการให้ไทเทเนียมนี้มีรูพรุนและความขรุขระที่พื้นผิวของไทเทเนียม เพื่อส่งเสริมการยึดติดนั่นเอง โดยเซลล์ของกระดูกที่วิ่งมาพร้อมกับเลือด จะแทรกซึมไปในผิวรากเทียมและสร้างกระดูกยึดจนเป็นเนื้อเดียวกันกับกระดูกขากรรไกรที่เหลือ

รากฟันเทียมประกอบด้วยอะไรบ้าง

  • รากฟันเทียม (Fixture) มีลักษณะคล้ายสกรูหรือน๊อต เป็นส่วนที่ฝังไปในกระดูกขากรรไกร ทำจากไทเทียมหรือเซอร์โคเนียม เมื่อมีการยึดติดสมบูรณ์แล้วจะมีความแข็งแรงมาก ทำหน้าที่เป็นหลักยึดให้กับส่วนอื่น
  • Abutment คือ แกน/เดือย ที่ทำจากไทเทเนียม หรือ เซอร์โคเนียม จะยึดติดกับ fixture ด้วยสกรู มีหน้าที่ทดแทนโครงสร้างแกนฟัน ในการยึดติดระหว่างครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอม กับรากฟันเทียม
  • Prosthesis คือ ส่วนของครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมที่ยึดกับ Abutment ทำจากเซรามิค(Porcelain) หรือ Acrylic ทำหน้าที่เป็นที่บดเคี้ยวอาหาร ต้องแข็งแรงพอที่จะรับแรงบดเคี้ยวได้ดี

หลักการทำงานของรากฟันเทียม

คนไข้ที่ถอนฟันไปแล้ว บริเวณที่ถอนไปจะเป็นสันกระดูกว่าง ไม่มีหลักยึดใดๆ โดยการใส่รากฟันเทียมในกระดูกขากรรไกร รากฟันเทียม จะทำงานร่วมกับกระดูกขากรรไกร เพื่อจะใส่เพื่อเป็นหลักในการรองรับฟันปลอม ไม่ว่าจะเป็นหลักยึดครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอม เพื่อช่วยในการบดเคี้ยว

โดย รากฟันเทียม จะมีประโยชน์ในการบดเคี้ยวและทดแทนฟันธรรมชาติ โดยจะให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมแบบอื่นๆ

กรณีไหนที่ต้องทำรากฟันเทียม:ใครควรใส่รากฟันเทียม

  • ผู้ที่สูญเสียฟันแท้จากอุบัติเหตุ
  • ผู้ที่มีฟันแตก หัก ซึ่งทันตแพทย์พิจารณาว่าไม่สามารถรักษาได้อีกต่อไป
  • เหงือกบริเวณที่จะทำการปลูกรากฟันเทียม ไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้การปลูกรากฟันเทียมล้มเหลวได้
  • ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
  • ผู้ที่ต้องการใส่ฟันเพียงซี่เดียว โดยฟันข้างเคียงยังอยู่ในสภาพดี
  • ผู้ที่ใส่ฟันปลอมทั้งปากแต่ประสบกับปัญหากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัวลงมาก ทำให้ฟันปลอมหลุดได้ง่าย ซึ่งการฝังรากฟันเทียมจะช่วยยึดฟันปลอมให้แน่นขึ้น
  • ผู้ที่ไม่ต้องการกรอฟันในการทำสะพานฟันติดแน่น
  • ผู้ที่ไม่ชอบใส่ฟันปลอมแบบถอดได้

ทำไมต้อง รากฟันเทียม?

รากฟันเทียม ได้ถูกมานำมาใช้เพื่อช่วยในการใส่ฟัน เนื่องจากน้ำหนักเบา มีความเข้ากันได้ดีกับร่างกาย มีความแข็งแรงที่สามารถรับแรงบดเคี้ยวได้ โดยนิยมนำมาใช้ในการใส่ฟันแบบติดแน่น และในกรณีที่ฟันปลอมหลวม เนื่องจากการละลายของสันกระดูกขากรรไกร การใช้รากฟันเทียมก็ช่วยให้ฟันปลอมแน่นขึ้น ทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ปัญหาฟันล้ม เมื่อถอนแล้วไม่ใส่ฟัน

ฟันล้ม

เมื่อสูญเสียฟันไป และไม่ได้รับการใส่ฟันตามเวลาที่สมควร

  1. ฟันข้างเคียงจะล้มเข้ามาปิดช่อง ทำให้ฟันซี่นั้นเอียง หรือ ล้ม เมื่อฟันล้ม ทำให้เศษอาหารติดฟันง่ายขึ้น ทำให้ฟันผุง่าย เป็นโรคเหงือก ปริทันต์อักเสบ และอาจจะทำให้ต้องถอนฟันซี่อื่นๆ ไปอย่างต่อเนื่อง
  2. ฟันคู่สบ จะเคลื่อนตัวมาที่ช่องว่าง ทำให้ฟันยื่นยาว รากฟันโผล่มาในช่องปาก ทำให้เสียวฟันเนื่องจากไม่มีเหงือกปกคลุมรากฟัน และทำให้การสบกระแทกจนอาจทำให้สูญเสียฟันซี่นั้นไป
  3. ฟันที่เหลืออยู่ จะรับแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากรับแรงบดเคี้ยวเท่าเดิม ทำให้ฟันที่เหลืออยู่รับแรงมากไป ทำให้ฟันแตกหัก
  4. ใบหน้า มีริ้วรอย จากการสูญเสียฟันหลัง ซึ่งมีหน้าที่คงความสูญของใบหน้า
  5. ฟันหลอ เสียความมั่นใจ ออกเสียงไม่ชัด เสียบุคลิกภาพ

อ่านบทความเพิ่มเติม ฟันจะล้มถ้าเราถอนแล้วไม่ใส่ฟัน

ใครเหมาะที่จะทำรากฟันเทียม

ผู้ที่เหมาะสมกับการใส่รากฟันเทียมคือ

  • ผู้ที่ฟันแตกหัก หรือฟันบิ่น โดยทันตแพทย์วินิจฉัยมาแล้วว่าควรถอนฟันออก ซึ่งเหมาะแก่การผ่ารากฟันเทียมแบบทันทีเพื่อไปทดแทนฟันที่ถูกถอนไป
  • ผู้ที่ไม่ต้องการใส่ฟันปลอมถอดได้หรือมีความกังวลเกี่ยวกับการสวมใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้
  • บุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กจะมีกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
  • ผู้ที่มีกระดูกรองรับฟันพอดี โดยขนาด และความหนาของกระดูกจำเป็นที่จะต้องรองรับฟันพอดีเพื่อที่รากเทียมที่เราปลูกไปยืดตัวได้อย่างมั่นคง ไม่หลุดได้ง่าย

ใครที่ไม่แนะนำให้รักษาด้วยรากฟันเทียม

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการหายของกระดูก เช่น ผู้ป่วยที่รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยไขข้ออักเสบ
  • คนไข้ที่มีโรคประจำตัวที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เบาหวาน มะเร็ง ลูคีเมีย
  • ผู้ป่วยที่รับยาบางชนิดที่ส่งผลต่อกระบวนการสร้างและทำลายกระดูก
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์

รากฟันเทียมมีกี่แบบ

การแบ่งชนิดรากฟันเทียมตามจำนวนซี่ที่ใส่

ทันตแพทย์สามารถใช้รากฟันเทียมช่วยในการใส่ฟันทดแทนให้คนไข้ได้หลายวิธี

การทดแทนฟัน 1ซี่

สามารถใส่ได้คือการใส่ฟันถอดได้ เป็นฟันปลอมถามอะคริลิค ฟันปลอมฐานโลหะ ,Removable bridge,Valplast

ถ้าพิจารณาการใส่ฟันติดแน่น ทำได้สองวิธีคือ รากฟันเทียม และสะพานฟัน โดยรากฟันเทียมมีข้อดีกว่าสะพานฟันคือ รากเทียมจะใส่รากไทเทเนียมบริเวณที่ถอนไปเพื่อทดแทน โดยไม่มีกรอฟันข้างเคียง แต่สะพานฟันจะต้องกรอฟันข้างเคียงและส่วนของครอบฟันจะติดแน่นเชื่อมกันระหว่างซี่ทำให้ ยากที่จะทำความสะอาด และถ้ามีปัญหาอาจจะต้องรื้อแก้ทั้งหมดรวมถึงถ้ามีปัญหาอาจทำให้สูญเสียฟันข้างเคียงเพิ่มขี้นด้วย

  • การทดแทนฟันหลายซี่

    ด้วยรากฟันเทียมสามารถทำได้หลายแบบคือ

    1.การใช้ รากฟันเทียม เพื่อช่วยยึดฟันปลอม

    โดยเดิมฟันปลอมที่จะต้องมีตะขอยึดติดกับฟันธรรมชาติ อาจทำให้ฟันธรรมชาติรับแรงงัดและแตกหักได้. การใช้รากฟันเทียมร่วมกับหลักยึดคือlocator ทำให้ไม่ต้องใช้ตะขอ ฟันปลอมจึงติดแน่น แข็งแรง โดยไม่ต้องไปเกี่ยวกับฟันธรรมชาติ

    2.การใช้ รากฟันเทียม รองรับสะพานฟัน

    ในกรณีที่สูญเสียฟันหลายๆซี่ติดกัน ทันตแพทย์จะทำรากฟันเทียม เพื่อเป็นหลัก หัวท้าย และ ยึดสะพานฟัน มีข้อดีคือ ลดจำนวนรากฟันเทียมที่ต้องใช้ลง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่ไม่สามารถฝังรากเทียมได้

    3.การใช้รากฟันเทียมหนึ่งรากแทนฟันหนึ่งซี่

    ในกรณีที่กระดูกเพียงพอ และคนไข้มีแรงบดเคี้ยวที่มาก จะทำรากเทียมพร้อมครอบฟันซี่ต่อซี่ ข้อดีคือ มีรากที่รับแรงบดเคี้ยวต่อซี่โดยตรง มีความแข็งแรง และง่ายต่อการบำรุงรักษา ถ้าในอนาคตมีปัญหาสามารถแก้เป็นซี่ๆไปได้

  • การทดแทนฟันทั้งปาก

    ในการใช้รากเทียมเพื่อบูรณะทั้งขากรรไกร ทำได้ดังนี้

    1.Overdenture

    การใช้รากเทียมสองรากในขากรรไกรล่าง และสี่รากสำหรับขากรรไกรบน ในการช่วยยึดฟันปลอม โดยจะช่วยให้ฟันปลอมอยู่แน่น เคี้ยวได้ดี และ ฐานฟันปลอมเล็กลง ไม่ต้องคลุมเพดานหรือเหงือกมาก

    2.All-on-4

    การใช้รากฟันเทียมสี่รากยึดติดแน่นกับฟันปลอม(Hybrid acrylic denture) โดยจะทำทันทีหลังจากผ่าตัดรากฟันเทียม แพทย์จะยึดฟันปลอมที่เตรียมไว้กับรากเทียม ทำให้คนไข้ได้ฟันติดแน่นทันทีหลังจากผ่าตัดรากเทียม

    3.Fixed bridge over implants

    เป็นการผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียม สี่รากเพื่อยึดสะพานฟันสิบซี่ ,หกถึงแปดรากเพื่อยึดสะพานฟันสิบสองซี่ โดยฟันที่ได้จะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ

การแบ่งรากฟันเทียมตามระยะเวลาที่ใส่

Conventional implant placement เป็นวิธีการฝังรากฟันเทียมแบบมาตราฐาน

การฝังรากฟันเทียมแบบ conventional implant placement จะสามารถทำได้ตั้งแต่ทดแทนฟันหนึ่งซี่ หลายซี่ จนถึงทั้งปาก โดยจะมีการแบ่งช่วงเวลาในการรักษาเป็นสองช่วง

โดยหลังจากถอนฟันอย่างน้อยสามเดือน แพทย์จะทำการตรวจในช่องปาก พร้อมกับเอกซเรย์สามมิติ(CBCT)เพื่อทำการประเมินกระดูกขากรรไกร จากนั้นทำการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมโดยหลังจากฝังรากฟันเทียมแล้วต้องรอประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้เกิดการยึดติดของรากฟันเทียมและกระดูกอย่างสมบูรณ์จากนั้นจะทำการพิมพ์ปากเพื่อทำครอบฟัน-ฟันเทียม ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาขึ้นกับชนิดของการใส่ฟัน เช่น ถ้าทำครอบฟัน จะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ ถ้าทำฟันปลอมยึดรากเทียม อาจจะมีขั้นตอนเพิ่มเติม

วิธีนี้มีข้อจำกัดน้อย สามารถรักษาได้ครอบคลุมในทุกสภาพ แต่หากมีการสูญเสียกระดูกขากรรไกรจะต้องปลูกกระดูกก่อนผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

Immediate implant placement หรือ การฝังรากฟันเทียมทันทีหลังถอนฟัน

เป็นการใส่ รากฟันเทียม ทันที หลังจากถอนฟันเดิมออก โดยข้อดีของวิธีนี้คือ ลดจำนวนครั้งในการผ่าตัด และลดเวลา ทำให้ได้ฟันที่เร็วขึ้น และทำให้ลดโอกาสเหงือกร่นลง

การทำimmediate placement สามารถทำได้ทุกบริเวณ แต่ขึ้นกับสภาวะของบริเวณที่รักษา และต้องไม่มีการติดเชื้อที่รุนแรง ไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันที่จะถอนเพื่อทำรากฟันเทียม จะต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดอยู่ได้ โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาในขั้นตอนการวางแผนว่าสามารถทำได้หรือไม่

Immediate loading implant

คือการใส่ฟันทันทีหลังจากที่ใส่รากฟันเทียม ทำให้คนไข้ได้ฟันทันที เช่น การทำ All-on-4 คือการใส่รากเทียมสี่รากพร้อมกับต่อฟันทันที หรือ การใส่รากฟันเทียมฟันหน้าพร้อมทำครอบฟันชั่วคราวทันที

อย่างไรก็ตามวิธีนี้จะมีข้อจำกัด ต้องให้แพทย์ตรวจ ประเมินและวางแผนอย่างใกล้ชิด

แบ่งการทำรากฟันเทียมตามรูปแบบการสูญเสียฟัน

กรณีที่ฟันหาย 1-2 ซี่

สามารถใส่ฟันเทียมติดแน่นได้ โดยการทำรากฟันเทียม หรือ การทำสะพานฟัน แต่การทำรากฟันเทียมจะได้ผลที่ดีที่สุดเนื่องจากใส่รากฟันเทียมในกระดูกขากรรไกรในตำแหน่งที่สูญเสียฟันโดยไม่ต้องกรอฟันข้างเคียงการทำความสะอาดทำได้ง่าย การซ่อมแซมดูแลรักษาทำได้ง่าย สามารถซ่อมแซมเฉพาะที่ได้แตกต่างจากการทำสะพานฟันซึ่งส่วนครอบฟันจะติดกันทั้งหมด ถ้าหากซี่ใดซี่หนึ่งมีปัญหา ต้องรื้อมาแก้ทั้งหมด และการทำสะพานฟัน น้ำหนักการบดเคี้ยวจะลงบริเวณฟันหลักยึด ทำให้ถ้าฟันหลักยึดไม่แข็งแรงอาจจะเป็นอันตรายต่อฟันทั้งชุดได้

กรณีฟันหาย 3 ซี่ติดกัน

สามารถทำรากฟันเทียมและสะพานฟันบนรากฟันเทียมได้ โดยทำรากฟันเทียมจำนวนสองรากและสะพานฟันสี่ตำแหน่ง มีข้อดีคือลดจำนวนรากฟันเทียมลงและสามารถหลีกเลี่ยงบริเวณที่ไม่สามารถใส่รากฟันเทียมได้

กรณีฟันหายจำนวนมาก หรือ สูญเสียฟันทั้งขากรรไกร

รากฟันเทียมสามารถช่วยทดแทนฟันได้ทั้งแบบติดแน่น และแบบถอดได้ โดยแบบติดแน่นทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมจำนวน 4, 6 หรือ 8 ตัวต่อ 1 ขากรรไกร ส่วนแบบถอดได้จะฝังรากฟันเทียมจำนวน 2-4 ตัว

เปรียบเทียบการใส่ฟันแบบต่างๆ รากฟันเทียม-สะพานฟัน-ฟันปลอม

ข้อดีของรากฟันเทียมเปรียบเทียบกับสะพานฟัน

  1. สะพานฟันต้องกรอฟันข้างเคียง ทำให้เสียเนื้อฟัน การทำรากฟันเทียมไม่จำเป็นต้องกรอฟันข้างเคียง
  2. กรอฟันข้างเคียงจะทำให้ ฟันที่เป็นหลักอ่อนแอลง ถ้าทำความสะอาดไม่ได้ จะทำให้เกิดการผุต่อบริเวณรอยต่อ และสูญเสียฟันหลักในอนาคต
  3. ทำความสะอาดยาก

ข้อดีของรากฟันเทียมเปรียบเทียบกับฟันปลอมถอดได้

  1. รากฟันเทียม เป็นฟันปลอมติดแน่น ไม่ต้องถอดเข้า ถอดออก
  2. รากฟันเทียมมีความสวยงาม เป็นธรรมชาติ
  3. ครอบรากฟันเทียมทำจากเซอร์โคเนียซึ่งมีความแข็งแรงกว่า เมื่อเทียบกับฟันปลอมที่ทำจากอะคริลิก
  4. รากฟันเทียมยึดกับกระดูก ทำให้รับแรงบดเคี้ยวได้ดีกว่าฟันปลอมที่ยึดกับฟันและวางบนสันเหงือก

รากฟันเทียมแตกต่างจากฟันปลอมชนิดอื่นอย่างไร

รากฟันเทียมจะมีประโยชน์ในการบดเคี้ยวและทดแทนฟันธรรมชาติ โดยจะให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมแบบอื่นๆ

รากฟันเทียมต่างจากฟันปลอมถอดได้อย่างไร

คนไข้หลายคนที่สูญเสียฟันไป การทำฟันปลอมแบบธรรมดาจะมีปัญหาในเรื่องของความรู้สึกเวลาใส่ที่เกะกะ ไม่สบาย อาจจะมีจุดกดเจ็บ จุดนูน และถ้าฟันปลอมใหญ่มากจะรู้สึกเทอะทะและคลื่นไส้ นอกจากนี้ฟันปลอมยังต้องถอดเข้าออก ทำให้ไม่สะดวกสบาย

แต่การทำรากฟันเทียม ฟันปลอมจะยึดติดกับรากฟันเทียมที่ฝังในกระดูกขากรรไกร ทำให้ฟันที่ใส่บนรากฟันเทียมติดแน่น ไม่ต้องถอดเข้าออก และสวยงามเหมือนคนไข้ได้ฟันธรรมชาติกลับคืนมา

รากฟันเทียม แตกต่างจากสะพานฟันอย่างไร

รากฟันเทียม และสะพานฟันต่างจัดว่าเป็นการใส่ฟันชนิดติดแน่นทั้งคู่

ในการทำสะพานฟันต้องกรอฟันหัวท้ายช่องว่างเพื่อเป็นหลักในการสวมสะพานฟัน ซึ่งมีลักษณะเป็นครอบฟันที่ติดกัน ยึดบนหลักคือฟันแท้ของคนไข้เอง

แต่รากฟันเทียมไม่ต้องกรอฟัน แต่เป็นการใส่รากฟันเทียมไทเทเนียมในกระดูกขากรรไกร ทำให้ไม่ต้องไปกรอหรือยุ่งกับฟันซี่อื่นๆ และหากมีปัญหาสามารถแก้ไขโดยไม่ต้องไปรื้อฟันทั้งหมด

ราคารากฟันเทียม

หลายคนสนใจที่จะทำรากฟันเทียมก็มาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ราคารากฟันเทียม

โดยการทำฟันปลอมบนรากเทียมมีราคาหลากหลาย ขึ้นกับปัญหาช่องปาก และความต้องการของคนไข้

ทางคลินิกสไมล์แอนด์ชายน์ได้ทำทางเลือกหลายแบบเพื่อให้คนไข้สามารถเลือกวางแผนการชำระค่ารักษาที่เหมาะกับตัวเอง

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการผ่อนชำระ โปรโมชั่นต่างๆ ของ Smile And Shine Dental Clinic 

การรับประกันรากฟันเทียม

  • รากเทียมทางคลินิกจะรับประกัน 5 ปี
  • Straumann และ Neodent by straumann จะรับประกันส่วนของตัวรากเทียม (fixture) ตลอดอายุการใช้งาน
  • ครอบฟันบนรากฟันเทียมรับประกัน 2 ปี

ข้อดี และ ข้อเสีย ของการทำรากฟันเทียม

ข้อจำกัดของรากฟันเทียมเมื่อเทียบการใส่ฟันชนิดอื่น

  • ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม อย่างน้อยใช้เวลา 2 เดือน และอาจจะใช้เวลาถึงปี แต่สะพานฟันใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์
  • ขั้นตอนการรักษารากฟันเทียมยุ่งยาก ซับซ้อนกว่า
  • รากฟันเทียมต้องทำการผ่าตัด

ปัจจุบันราคารากฟันเทียมกับสะพานฟันไม่ต่างกันมาก เมื่อเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยแล้ว การทำรากฟันเทียม จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นและการทำสะพานฟันมีแนวโน้มลดลง

ข้อดีของการทำรากฟันเทียม

เนื่องจากการทำรากฟันเทียมถือเป็นการใส่ฟันที่ดีที่สุดในปัจจุบัน และมีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด จึงช่วยให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้

  • คนไข้มีความมั่นใจ บุคลิคภาพดูดียิ่งขึ้น
  • คนไข้กลับมาเคี้ยวอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานบดเคี้ยวได้ไม่ต่างกับฟันธรรมชาติ
  • มีความรู้สึกเหมือนได้ฟันธรรมชาติกลับคืนมาก การทดแทนด้วยรากฟันเทียมจะมีความเป็นธรรมชาติมากกว่าการใส่ฟันปลอมชนิดอื่น
  • สามารถใส่ฟันได้โดยไม่ต้องกรอแต่งซี่ข้างเคียง
  • ดูแลทำความสะอาดง่ายขึ้น ทำให้สุขภาพอนามัยช่องปากคนไข้ดีขึ้น
  • สามารถพูดและออกเสียงได้ชัดเจน
  • สามารถรับประทานอาหารที่อยากทานได้ เหมือนได้ฟันธรรมชาติกลับคืนมา
  • ลดปัญหาการหลุด หลวม และความวิตกกังวลเกี่ยวกับฟันปลอม
  • มีความคงทนถาวร
  • คนไข้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งร่างกายและจิตใจ
  • มีความปลอดภัยสูง รากฟันเทียมทำจากไทเทเนียม medical grade จึงสามารถมั่นใจได้ว่ารากฟันเทียมเข้ากันได้ดีกับร่างกาย
  • สามารถใช้กับการใส่ฟันได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นรากฟันเทียมร่วมกับครอบฟันทดแทนฟันหนึ่งซี่ รากฟันเทียมร่วมกับสะพานฟันทดแทนฟันหลายซี่ และรากฟันเทียมรองรับฟันปลอม ในกรณีที่สูญเสียฟันไปมาก

ข้อจำกัดของการทำ รากฟันเทียม

    • ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการใส่ฟันแบบอื่นๆ
    • คนไข้ที่มีภาวะเจริญเติบโต ต้องรอให้ผ่านช่วงนั้นไปก่อน
    • เนื่องจากเป็นการผ่าตัดคนไข้ที่มีโรคประจำตัวอาจจะมีข้อจำกัด
    • ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือ ติดสุราเรื้องรังจะมีผลต่อกระดูกบริเวณรอบรากเทียม อาจะทำให้การรักษาล้มเหลวได้
    • การทำรากฟันเทียม มีการผ่าตัดและใช้เวลาในการรักษานานกว่าการใส่ฟันชนิดอื่น
    • ในกรณีที่สูญเสียฟันไปเป็นเวลานาน ทำให้ต้องปลูกกระดูกขากรรไกรซึ่งเป็นการผ่าตัดเพิ่มเติม
    • กรณีที่สูญเสียกระดูกขากรรไกรเนื่องจากกระดูกขากรรไกรยุบ หรือ เหงือกบาง อาจจะทำให้ความสวยงามของรากฟันเทียมลดลง

รากฟันเทียม ทางเลือกที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติที่สุด;ทำหน้าที่อย่างไร

  1. รากฟันเทียม ป้องกันฟันล้ม
  2. รากฟันเทียมช่วยรับแรงบดเคี้ยว
  3. รากฟันเทียมฟันหน้า ช่วยในการออกเสียง
  4. รากฟันเทียม มีความใกล้เคียงฟันธรรมชาติมาก ทำให้มีบุคลิกภาพที่ดี
  5. รากฟันเทียม ช่วยให้คนไข้กลับมามีความมั่นใจ
  6. เมื่อใส่ฟันหลังด้วย รากฟันเทียม ช่วยให้ความสูงใบหน้าเพิ่มขึ้น ทำให้ริ้วรอยบนใบหน้าลดลง ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ขึ้น
  7. รากฟันเทียม ช่วยให้ทานอาหารได้ปกติ ระบบย่อยอาหารกลับมาทำงานเป็นปกติ สุขภาพร่างกายแข็งแรง

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

ทำการรักษาภายใต้ใส่ยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะฝังรากเทียม

ทันตแพทย์จะเปิดเหงือกและกรอกระดูกบริเวณขากรรไกรในตำแหน่งที่ต้องการทดแทนฟันที่สูญเสียไปเพื่อเป็นช่องสำหรับฝังรากเทียมซึ่งทำจากวัสดุไทเทเนียมรูปร่างทรงกระบอก หลังจากนั้นเหงือกตำแหน่งน้ันจะถูกเย็บปิดและรอการเช่ือมของกระดูกกับรากฟันเทียมเป็น ระยะเวลา 2-8 เดือน

เมื่อรากเทียมนั้นถูกประเมินว่ามีการประสานกับกระดูกโดยรอบอย่างสมบูรณ์แล้ว เดือยจะถูกต่อขึ้นบนเหงือก เพื่อรองรับครอบฟันหรือสะพานฟัน หรือฟันเทียมแบบถอดได้ตามแผนการรักษา

การเตรียมตัวสำหรับการฝังรากฟันเทียม คนไข้จำเป็นจะต้องมีสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง และมีกระดูกมากเพียงพอที่จะรองรับรากฟัน ดังนั้นต้องรักษาสุขภาพของเหงือก และกระดูกให้สมบูรณ์ ด้วยการดูแลความสะอาดของช่องปากอย่างละเอียดถี่ถ้วน และไปพบทันตแพทย์ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้การฝังรากฟันมีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม

  • ก่อนจะเข้ารับการรักษาด้วยรากฟันเทียม คุณต้องได้รับการตรวจและประเมินโดยละเอียดจากทันตแพทย์เฉพาะทาง หรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาในภายหลัง อีกทั้งทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังสามารถเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ มีความเข้าใจในขั้นตอนของการทำทันตกรรมประดิษฐ์
  • ในกรณีที่คนไข้มีโรคประจำตัว มียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ มีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งท้นตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด
  • กรณีที่มีประวัติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือเปลี่ยนข้อเทียม อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ก่อนการรักษาในบางกรณี จึงควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบล่วงหน้า
  • วางแผนการรักษาร่วมกับทันตแพทย์ทั้งเรื่องชนิดของรากฟันเทียม หรือฟันเทียมที่เลือกใช้ในแผนการรักษา เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

1.การผ่าตัดฝังรากฟันเทียม

  • ทันตแพทย์ให้คำปรึกษาและตรวจฟันคนไข้
    • แพทย์จะทำการตรวจช่องปากเพื่อประเมินการสบฟัน การบดเคี้ยว เหงือก
    • แพทย์จะทำการพิมพ์ปากเพื่อวางแผนการรักษา และกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของรากฟันเทียม
    • ทำการ X-ray Digital 3D CBCT (CT SCAN)
    • ทันตแพทย์ประเมินความหนาแน่นกระดูก ตำแหน่งเส้นประสาท ออกแบบกำหนดตำแหน่ง และเลือกขนาดของรากฟันเทียมจาก X-ray Digital 3D CBCT
    • ทันตแพทย์จะตรวจสอบสภาวะกระดูกเเละการติดเชื้อ เพื่อเตรียมพื้นที่ให้เหมาะการฝังรากฟัน ถ้ามีการติดเชื้อต้องทำการรักษาก่อน อาจใช้เวลาตั้งเเต่ 2-3 สัปดาห์ – 2 เดือน
      ถ้ามีสภาวะที่โครงสร้างกระดูกไม่เพียงพอกับการทำรากฟันเทียม อาจจะต้องปลูกถ่ายกระดูกเพิ่มก่อน เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ
  • ผ่าตัดฝังรากฟันเทียม
    • นัดมาผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วทำการผ่าตัดเพื่อฝังไทเทเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกร และเย็บปิดแผล ประมาณ 14-21 วันจะตัดไหมออก จากนั้น รออีก 3-4 เดือนเพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรอย่างสมบูรณ
  • หลังผ่าตัดฝังรากเทียมเสร็จ
    รากฟันเทียมจะผสานกับกระดูกขากรรไกร หากใส่รากฟันเทียมแบบทันที (Immediate Implant) สามารถดำเนินการรักษาตามขั้นตอนที่ 5 ต่อได้ กรณีที่ไม่ได้ใส่รากฟันเทียมแบบทันที ต้องรอให้รากฟันเทียมเชื่อมต่อกับกระดูกประมาณ 2 ถึง 6 เดือน ก่อนที่จะทำขั้นตอนที่ 5
    หลังจากเย็บแผล 7 – 10 วัน ทันตแพทย์จะนัดเพื่อทำการตัดไหม
  • ติดตั้งหลักยึดฟันปลอม (Abutment)
    มีลักษณะเป็นแกนโลหะติดอยู่กับรากฟันเทียม เมื่อมีการเลือกครอบฟันหรือสะพาน จะมีวัสดุค้ำนี้เพื่อรองรับครอบฟันหรือสะพาน
  • ใส่เครื่องมือที่ช่วยสร้างร่องเหงือก(gingival former)
    จากนั้นอีก 1-2 สัปดาห์ จะทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งทำครอบฟัน หรือฟันปลอม
  • ทันตแพทย์ติดตั้งครอบฟันหรือสะพานฟัน หรือ Overdenture
    ไว้กับโลหะที่เป็นหลักยึดดังกล่าวด้วยสารยึดติดทางทันตกรรมหลังการผ่าตัดฝังรากเทียมคนไข้ก็จะมีฟันที่สวยงาม มีประสิทธิภาพในการใช้งานไม่ต่างจากฟันธรรมชาติ

2.การใส่ฟันบนรากฟันเทียม

  • หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือนนัดมาทำตรวจเช็ค ทำการ X-ray Digital 3D CBCTและpanoramic เพื่อเช็คการยึดของรากฟันเทียมกับเนื้อเยื่อ เช็คตำแหน่ง และเช็คความหนาแน่นของกระดู
  • เมื่อรากฟันเทียมยึดกับเนื้อเยื่อและกระดูกของเราเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะพิมพ์ฟันและทำตัวครอบฟันบนรากฟันเทียม
  • 1-2 สัปดาห์ คนไข้กลับมาทำใส่ครอบฟัน
  • คนไข้ต้องกลับมาตรวจสุขภาพฟันและx-Ray ทุก6เดือน

ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม

ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม ขึ้นกับหลายปัจจัย

  • ความแข็งแรงของร่างกายสภาพความสมบูรณ์
  • ความหนาแน่นของกระดูกขากรรไกร
  • เทคโนโลยีและชนิดของรากฟันเทียม

โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาในการรักษา 2 เดือนในเคสที่กระดูกสมบูรณ์ และอาจจะยืดยาวถึงเป็นปีในกรณีที่ต้องมีการปลูกกระดูกร่วมด้วย

รากฟันเทียม ใส่ฟันทันที ได้ไหม?

คนไข้มักจะอยากได้ฟันเร็ว อย่างไรก็ตามจะใส่ฟันได้เลยไหม ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา ตำแหน่งฟัน ความสมบูรณ์ของกระดูกขากรรไกร

ส่วนตัวแล้วถ้าจะใส่ฟันทันที หมอมักจะใส่เป็นครอบฟันชั่วคราวให้คนไข้ไปก่อน โดยการรักษาที่ใส่ฟันทันทีมักจะทำในฟันหน้า และกรณีที่ใส่ฟันทั้งปากแบบ all-on-4

เมื่อคนไข้ฝังรากฟันเทียมพร้อมกับใส่ฟันไปแล้ว รอสามถึงสี่เดือน ให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกได้ดีแล้วค่อยมาทำฟันถาวรจากวัสดุถาวร เช่น ฟันปลอมเสริมโครงโลหะหรือสะพานฟันสำหรับการใส่ฟันทั้งปาก และการใส่ครอบฟันเซอร์โคเนียสำรหับการใส่ฟันซี่เดียว

แต่ถ้ากระดูกไม่สมบูรณ์ ต้องมีการปลูกกระดูกร่วมด้วย อย่างไรก็ต้องรอการปลูกกระดูกอย่างน้อยสี่เดือนค่ะ

ใส่รากฟันเทียมทันที ภายใน 1 วัน

การทำรากฟันเทียมให้เสร็จภายใน 1 วัน หรือ one day implant จะทำการถอนฟัน พร้อมฝังรากฟันเทียม และใส่ฟันในวันนั้นได้เลย อย่างไรก็ตามการทำ one day implant จะต้องเลือกเตสอย่างระมัดระวัง โดยเลือก condition ที่สามารถทำได้จริงๆ

บริเวณที่สามารถทำได้สามรถทำได้ตั้งแต่ ฟันซีเดียว ไปจนถึงฟันทั้งปากค่ะ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม การทำรากฟันเทียมภายใน 1 วัน

ทำรากฟันเทียมเจ็บไหม

หลายคนจินตนาการว่าการทำรากฟันเทียมเจ็บ แผลใหญ่ ต้องวางยาสลบไหม จริงๆแล้วการทำรากฟันเทียมไม่ได้เจ็บอย่างที่คิด เพราะความเจ็บปวดขณะทำรากฟันเทียมสามารถควบคุมได้โดยยาชาเฉพาะที่ และความเจ็บปวดหลังจากการทำรากฟันเทียม ควบคุมได้โดยยาแก้ปวดที่คุณหมอสั่งไว้ค่ะ

การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมจะทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่

คนไข้จะทำรากฟันเทียมภายใต้ยาชาเฉพาะที่ โดยหลังจากที่ทันตแพทย์ฉีดยาชาแล้ว ยาชาออกฤทธิ์เต็มที่ คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดขณะที่ผ่าตัดเลย

หลังจากยาชาหมดฤทธิ์จะเจ็บมากไหม

อาการเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดรากฟันเทียมจะมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งเกิดจากความแตกต่างสันกระดูก ปริมาณกระดูก และคุณภาพของเหงือกเฉพาะบุคคล

ในผู้ป่วยที่มีกระดูกเพียงพอ คุณภาพดี การผ่าตัดจะทำได้ง่ายและรวดเร็ว คล้ายถอนฟัน ในบางกรณีอาจจะแผลเล็กกว่าการถอนฟันเสียอีก คนไข้หลายรายเพียงแค่รับประทานยาแก้ปวดก็สามารถควบคุมได้ และใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วัน

ส่วนกรณีคนไข้มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือมีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี ต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ก็จะมีระยะการพักฟื้นที่นานกว่า

ระยะเวลาพักฟื้นหลังจากทำรากฟันเทียม

ปกติการทำรากเทียมใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วันเท่านั้น ถ้าคนไข้มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือมีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี ต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ก็จะมีระยะการพักฟื้นที่นานกว่า

อาการหลังผ่าตัดรากฟันเทียม

  • คนไข้อาจมีการปวดบวมภายหลังการผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้ประมาณ 5-7 วัน  ให้รับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้แผลหายได้เป็นปกติ
  • กรณีที่มีอาการผิดปกติภายหลังการผ่าตัด 1-2 วัน เช่น มีหนอง มีไข้ มีอาการชาบริเวณคาง ริมฝีปาก หรือลิ้น ปวดบวมรุนแรงหรือมีเลือดออกบ่อย ให้กลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการทันที

การดูแลตนเองหลังจากผ่าตัดรากฟันเทียม

  1. รับประทานเฉพาะอาหารเหลวก่อนในช่วงวันแรก เพื่อหลีกเลี่ยงเศษอาหารปนเปื้อนแผล สามารถรับประทานอาหารกึ่งเหลว หรืออาหารบดในช่วงวันที่ต่อๆมาได้
  2. หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งหรือเหนียวเกินไป ช่วง 1-2 เดือน เพื่อป้องกันแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับรากเทียมที่เพิ่งฝังเข้าไป
  3. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นมากในวันแรกหลังการผ่าตัด
  4. อาการบวมหลังผ่าตัดถือเรื่องเป็นเรื่องปกติ สามารถรับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอาการอักเสบ
  5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  6. คนไข้สามารถดูเเลรักษาความสะอาดของฟันได้ตามปกติ เหมือนฟันธรรมชาติ แปรงฟันให้ถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันกำจัดเศษอาหารตามซอกฟัน
  7. แนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากล้างน้ำยาฆ่าเชื้อ ตามที่แพทย์สั่ง
  8. พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  9. หากมีพฤติกรรมขบเคี้ยวฟัน หรือนอนกัดฟัน ควรพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว

การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม

  • ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา 
  • ถ้าคนไข้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดัน หอบหืด หรือมีอาการแพ้ เช่น แพ้ยา แพ้โลหะ เป็นต้น ต้องแจ้งแพทย์ก่อน เพื่อแพทย์จะได้ทำการจัดการสภาวะต่างๆให้เหมาะสมแก่การรักษารากฟันเทียม เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงที่สุด
  • เอกซเรย์สามมิติ เพื่อวางแผนการรักษาให้ถูกต้องเหมาะสม

อาการอย่างไร แพทย์จึงพิจารณาให้ทำรากฟันเทียม

ปัจจัยสำคัญ คือ คนไข้ต้องการฟันเทียมที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด ต้องการยิ้มและพูดคุยอย่างมั่นใจ ต้องการการบดเคี้ยวที่ดี หรือทดแทนฟันที่เหลืออยู่ซึ่งไม่แข็งแรง ไม่เหมาะเป็นฟันหลักยึดให้กับฟันเทียมชนิดอื่นๆ แม้แต่ในรายที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ รากฟันเทียมมีส่วนช่วยได้อย่างมากในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมในกรณีที่ฟันหายไป รากฟันเทียม ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในกรณีที่มีฟันหายไป    1-2 ซี่ รวมถึงรากฟันเทียมก็มีส่วนช่วยให้ฟันเทียมชนิดถอดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่ารากฟันเทียมมีส่วนช่วยในการทำฟันเทียมเกือบทุกกรณี

รากฟันเทียมใช้ได้นานหรือไม่

รากฟันเทียมทำจากไทเทเนียม ซึ่งมีความแข็งแรงมาก อย่างไรก็ตามถึงจะไม่ผุเหมือนฟันธรรมชาติ แต่ก็อาจเกิดโรคเหงือกได้ ดังนั้น รากฟันเทียมต้องได้รรับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติแพทย์จะทำการนัดมาเช็คทุกหกเดือน โดยคุณหมอจะทำการตรวจการสบฟันของรากฟันเทียมกับฟันข้างเคียง และเอกซเรย์ดูกระดูกที่รองรับรากฟันเทียม ตลอดจนทำความสะอาดรากฟันเทียมนั้นๆ การดูแลรักษาอย่างดีและสม่ำเสมอจะทำให้รากฟันเทียมอยู่กับเราไปนานๆค่ะ

การดูแลรักษารากฟันเทียม

  • ดูแลและทำความสะอาดเป็นประจำทุกวัน โดยการใช้แปรงสีฟัน ไหมขัดฟัน แปรงซอกฟัน
  • หมั่นพบทันตแพทย์เป็นประจำทุกหกเดือน
  • เลือกทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญและเลือกรากเทียมที่มีคุณภาพ เพื่อผลของการรักษาที่ยั่งยืน
  • ทำตามคำแนะนำขอแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงของแข็ง

เทคโนโลยีการทำรากฟันเทียม

เอกซเรย์สามมิติระบบดิจิตอล(Digital 3D CBCT)

Digital 3D CBCT (X-ray 3D) โดยหลักๆปัจจุบันนี้ใช้งานหลักๆคือ 3D digital CBCT ในการวางแผนการรักษา โดยสามารถวัดความกว้าง ความยาว ความสูงของกระดูก และระยะต่ออวัยวะสำคัญโดยรอบได้ ทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย

รากฟันเทียมดิจิตอล

การวางแผนการผ่าตัดรากฟันเทียมด้วย computer guided implant planning software

การทำ computer guided implant คือการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบจะช่วยลดเวลาการรักษา และทำให้ตำแหน่งในการฝังรากเทียมมีความแม่นยำสูง โดยแพทย์จะประเมินความหนาแน่นกระดูก ตำแหน่งเส้นประสาทและออกแบบวางแผนจากการเอกซเรย์ 3D CBCT ทำให้สามารถเลือกขนาดรากฟันเทียม และกำหนดตำแหน่งได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับตำแหน่งฟันที่จะได้ใส่อย่างมีประสิทธิภาพ

รากฟันเทียมยี่ห้อไหนดี

รากฟันเทียมที่เลือกใช้ในคลินิก

  • Straumann(Switzerland) Straumann มีสี่รุ่นหลักคือ
    • Straumann TitaniumSLA
    • Straumann Roxolid-มีการเสริม Zirconia(เซอร์โคเนีย) ทำให้เป็น TiZr หรือไทเทเนียมอัลลอยด์ ทำให้รากเทียมมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ
    • Straumann TiSLActive – เป็นรากเทียมรุ่น TitaniumSLAที่เคลือบ ACTIVE agent ทำให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกดีขึ้น เร็วขึ้น เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน มะเร็ง หัวใจ
    • Straumann Roxolid Active – เป็นรากเทียมรุ่นท๊อป คือเป็นรุ่น Roxolid ที่มีความแข็งแรงมากและเคลือบ Active agent ทำให้ยึดติดได้เร็ว
  • Nodent(Brazil) eเป็นแบรนด์รองของ Straumann โดย Straumann ไปซื้อแบรนด์นี้มาพัฒนาต่อ มีการใช้เทคโนโลยีของStraumann แต่สาเหตุที่ถูกกว่าเพราะฐานการผลิตอยู่ที่บราซิล
  • Neobiotech/dentium/osstem รากเทียมเกาหลี คุณภาพดี ในปัจจุบันมีการใช้มากขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพและวัสดุจนไม่น้อยหน้าที่ไหนเลย
  • Zirconia implant(Metalfree)-STRAUMANN PURE
    สำหรับคนไข้ที่แพ้โลหะ หรือฟันหน้าที่ต้องการความสวยงามสูง กรณีคนไข้เหงือกบาง เนื่องจากรากเทียมมีสีขาว ทำให้ลดโอกาสที่จะเห็นขอบดำของรากเทียม

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ รากฟันเทียม ยี่ห้อไหนดีแต่ละยี่ห้อต่างกันอย่างไร

หลักในการพิจารณาเลือก รากฟันเทียม

หลักในการพิจารณาเลือก รากฟันเทียม

  • สิ่งที่ต้องพิจารณาหลักๆคือ
    1.รากเทียมทำจากบริษัทที่ได้มาตรฐาน บริษัทมีความมั่นคง อีกทั้งตัวแทนจำหน่ายในไทยเองก็ต้องมั่นคงเช่นกัน เพราะถ้าต้องหาชิ้นส่วนอะไหล่ ในอนาคตเราจะต้องหาได้
    2.บริษัทที่มีการค้นคว้าและมีผลงานการวิจัยรองรับที่เชื่อถือได้ ทำให้มีการพัฒนารูปแบบให้ดียิ่งๆขึ้น
    3.คุณภาพของทุกขั้นตอนต้องดี ใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงที่เป็น medical gradeยี่ห้อที่สไมล์แอนด์ชายน์ เลือกใช้คือรากฟันเทียมที่มีมาตรฐาน
  • “แนวคิดของ สไมล์ แอนด์ ชายน์ เราไม่จำเป็นต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในโลกแต่เลือกสิ่งที่เหมาะกับเรามากที่สุดในโลกต่างหาก
  • และวิธีที่ดีที่สุดคือปรึกษาคุณหมอ เพื่อจะให้ได้คำตอบที่ดีที่สุดว่า รากเทียมไหนดีที่สุดกับกรณีของแต่ละคน”

ทันตแพทย์รากฟันเทียม

รากฟันเทียม หากทำแล้ว ใช้งานได้อย่างเหมาะสม จะสามารถอยู่กับเราได้นานเป็น 10 ปี

การมีข้อมูลที่ครบถ้วนในการตัดสินใจการรักษา จะช่วยให้เลือกการรักษากับคลินิกและแพทย์ที่เข้าใจเรา และจะได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด

คนไข้สามารถปรึกษา การใส่รากฟันเทียม กับทันตแพทย์จุฬา ได้ฟรี ที่ smile and shine dental clinic

 คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการทำ รากฟันเทียม

รากฟันเทียมทำไมมีราคาแพง ราคาค่อนข้างสูงเพราะอะไร

ค่ารักษาที่สูง มาจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ปลูกรากเทียมนั้นมีหลายส่วน ต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมเฉพาะทางที่มีความละเอียดสูง นำเข้าจากต่างประเทศ ดูเเลภายใต้ทันตแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางรากฟันเทียม

กรณีไหนที่ต้องมีการปลูกกระดูกร่วมกับการทำรากเทียม

ในคนไข้ที่มีกระดูกไม่เพียงพอที่จะสามารถฝังรากเทียม ตามขนาดที่เพียงพอสำหรับรับแรงบดเคี้ยว

รากฟันเทียมมีอายุการใช้งานกี่ปี

รากเทียมมีความทนทานเเละใช้งานได้เหมือนกันฟันจริง อายุการใช้งานของรากฟันเทียมนั้นอยู่ได้นานถึง 10 – 20  ปี หรือนานกว่านั้น อยู่ที่การดูเเลรักษาความสะอาดให้ดีอย่างสม่ำเสมอ

การดูเเลฟันหลังทำรากเทียม

การรักษาฟันด้วยการทำรากเทียม มีข้อดีคือ ทำความสะอาดง่าย เนื่องจากยึดติดไม่ต่างจากฟันจริง ดังนั้นจึงมีความแข็งแรงที่มาก การแปรงฟัน หรือทำความสะอาดอื่นใดจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องคอยประคับประคอง หรือถอดเข้าถอดออกบ่อยครั้งเหมือนฟันปลอมแบบอื่น ๆ

ถ้าไม่ทำรากเทียมหรือใส่ฟันปลอมจะมีผลอย่างไร

เมื่อคนไข้สูญเสียฟันเเท้ไป ตามปกติจะเกิดพื้นที่ว่างระหว่างช่องฟัน ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ดีเท่าที่ควร และอาจทำให้กระดูกยึดฟันสลาย จนเป็นผลให้ฟันข้าง ๆ ล้มและเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ การทำรากเทียม หรือใส่ฟันปลอมจะเป็นตัวช่วยรักษารากและกระดูกฟันเอาไว้

การใส่รากฟันเทียม เจ็บไหม?

ขณะทำรากฟันเทียมจะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดเลย แต่เจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดจะมากน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะสันกระดูก ปริมาณของกระดูก เนื้อเยื่อเหงือกในบริเวณที่รับการรักษา

ในรายที่มีปริมาณกระดูกเพียงพอ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากฟันเทียมทำได้ง่าย มีความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟัน

ใส่รากฟันเทียมจัดฟันได้ไหม?

โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการจัดฟันให้เสร็จก่อน ค่อยมารักษาด้วยการทำรากฟันเทียม เนื่องจากรากฟันเทียมจะไม่มีการเคลื่อนที่ได้เหมือนฟันธรรมชาติ ทำให้ไม่สามารถจัดฟันในตำแหน่งที่ทำรากฟันเทียมได้ แต่ถ้ารากฟันเทียมไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่มีผลต่อการเคลื่อน หรือต้องการให้เคลื่อนฟัน ก็พอจะจัดฟันได้

ทำรากฟันเทียมใช้เวลานานไหม?

การทำรากเทียมจะแบ่งการรักษาเป็น 2 กระบวนการ คือขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียม และขั้นตอนการใส่ฟันบนรากเทียม ในอดีต 2 ขั้นตอนนี้จะห่างกันประมาณ 4-6 เดือน แต่ด้วยวิทยาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน การผ่าตัดฝังรากเทียมในรายที่กระดูกมีคุณภาพดีสามารถใส่ฟันได้ทันที หรือภายหลังการฝังรากฟันเทียมเพียง 2-3 เดือน โดยการระยะเวลาในการรักษาจะแตกต่างกันไปตามปริมาณ และคุณภาพของกระดูกรองรับรากเทียม

รากฟันเทียมอักเสบ ทำยังไงดี?

อุปกรณ์การรักษาที่ติดตั้งอยู่ภายในช่องปาก และปัญหาที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการรากฟันเทียมอักเสบได้ ผู้ที่เข้ารับการรักษารากฟันเทียมจึงต้องดูแลเอาใจใส่ช่องปากมากเป็นพิเศษ ด้วยการหลีกเลี่ยงของขบเคี้ยวแข็ง ๆ เพื่อลดแรงบดเคี้ยวที่ส่งผลต่อรากฟันเทียม หลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนหรือเย็นจัด เพราะอาจทำให้แผลผ่าตัดหายช้า

ที่สำคัญไม่ควรใช้ฟันกระทบกับสิ่งแปลกปลอม และหลังจากรับประทานอาหารทุกครั้งควรจะบ้วนน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปากชนิดอ่อนเพื่อรักษาสุขภาพช่องปาก และไม่เพิ่มแบคทีเรียบริเวณรากฟันเทียม แต่หากเกิดอาการอักเสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรพบทันตแพทย์ทันที

OUR EXPERIENCE

IS YOUR

ADVANTAGE

get in touch with us

คลินิกทันตกรรมสไมล์แอนด์ชายน์ก่อตั้งโดย ทพญ.นลัท ว่องวัจนะ ทันตแพทย์รากฟันเทียม ที่ได้รับรางวัลและการรับรองจากสถาบันระดับสากล หลังจากที่ได้ทำงานหลายๆที่ พบว่าข้อจำกัดในการรักษา คือ เครื่องมือ เทคโนโลยี เนื่องจากทันตกรรมรากเทียมและทันตกรรมบูรณะต้องมีการใช้เครื่องมือจำนวนมาก ซึ่งเครื่องมือเหล่านั้นมีราคาสูง ทำให้แผนการรักษาไม่ได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ คุณหมอจึงตัดสินใจเปิดคลินิกของตนเอง โดยมุ่งเน้น”การรักษาที่ดีที่สุด มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุด ใช้วัสดุที่ดีที่สุด” อย่างไรก็ตามสิ่งทสำคัญที่สุดคือ การรักษาทั้งหมดยังคงที่อยู่ภายใต้จรรยาบรรณ และจริยธรรม เพื่อให้คนไข้วางใจได้ว่า แผนการรักษาของเขาจะเหมาะกับตัวเขาในระยะยาว การรักษาที่เลือกจะไม่น้อยไปจนรักษาไม่ครบหรือมากเกินไปโดยไม่จำเป็น

ทำรากฟันเทียม

กับคุณหมอนลัท

ที่สไมล์แอนด์ชายน์

Testimonials

ขอขอบคุณ คุณหมอแอ้น ที่ดูแล ให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี ความเป็นกันเองของคุณหมอทำให้คนที่หวาดกลัวการพบหมอฟันรู้สึกผ่อนคลาย

สิ่งที่สำคัญที่สุดของคลินิกแห่งนี้ การทำให้คนไข้รู้สึก ”วางใจ” รู้สึก “ปลอดภัย”

ประทับใจสุดๆก็คือคุณหมอแอ้นตอบไลน์แอดด้วยตนเอง รู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่มาใช้บริการที่นี่ค่ะ

ภาวินี / Thailand

It was very easy to communicate right from the initial contact. Very responsive, detailed oriented and very professional. All details of extensive dental work were discusse way in advance and all complicated dental work was done on time and exactly as was planned. Very satisfied with results and highly recommend Dr. Nalat to anyone who needs professional dental work. With great appreciation

Arunas Vanagas / U.S.A

ชอบที่คลินิกSmile and Shine ดูแลได้ครบวงจร มีทันตแพทย์ครบทุกด้าน เครื่องมือทันสมัย เหมือนไปทำที่รพ.ทางทันตกรรม ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปหลายที่ ที่สำคัญคุณหมอที่นี่ทำให้ความรู้สึกกลัวเวลาทำฟันหายไป โดยสิ้นเชิง เพราะคุณหมอมือเบามากค่ะ

เกื้อกมล / Thailand

She is simply the best Dentist, surgeon, cosmetic expert, wonderful person, I recommend her to all my family, friends and anyone who appreciates professionalism, perfection, courtesy and friendliness! Thank you Nalat!

Mr. climaites / U.S.A

ขอบคุณสำหรับการฝังรากเทียมที่สุดปราณีต เช็คความเรียบร้อยตลอดการทำและไม่เจ็บเลย…ค่ะ

มั่นใจค่ะว่าฟันที่ทำกับคุณหมอนลัท จะสวยงามและใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพค่ะ…ขอบคุณมากค่ะ

 

Wichitra / Thailand

ขอบคุณทั้งคุณหมอและเจ้าหน้าที่ค่ะ ดูแลและอธิบายรายละเอียดอย่างใส่ใจ คุณหมอนลัทใจเย็นมากค่ะ ไปคลีนิคแล้ววางใจว่าจะได้รับการรักษาและบริการที่ดีค่ะ

Ravar Kanithasen / Thailand
รากฟันเทียม แพง
รากฟันเทียมที่ไหนดี
รากเทียม ที่ไหนดี
รีวิว รากฟันเทียม
ใส่ฟัน ยานนาวา
รากฟันเทียม ยานนาวา
รีวิว ใส่ฟัน
พระรามสาม ทันตกรรม
ใส่ฟัน พระรามสาม
ทพญ.นลัท ว่องวัจนะ

บทความโดย

ทพญ.นลัท ว่องวัจนะ

ทันตแพทย์ที่ทำงานด้านรากฟันเทียม

  • DDS(Second Class Honor), Chulalongkorn University,Bangkok,Thailand 2009
  • Certificate of completion of Intermediate and advanced basic dental implants practice from OSSTEM THAILAND
  • CERTIFICATE IN IMPLANT EXTERNSHIP PROGRAM, THE STATE UNIVERSITY OF NEWYORK AT STONY BROOK SCHOOL OF DENTAL MEDICINE
  • Honorable mention award, Esthetic implant competition, TPA with ITI Straumann. (Thai Prosthodontics Association and an International team of implantology, Straumann)
  • Accreditation of ADVANCE IN IMPLANTOLOGY –DGOI
    (Deutsche Gesellschaft für Orale Implantologie -German Society of Oral Implantology)
  • Fellowship in International Congress of Oral Implantologists (ICOI)
    PUBLICATIONS
  • Dr.Nalat Wongwatjana,DDS, – Bangkok. “Staged Approach Single Dental Implant in Aesthetic Zone, THAI ASSOCIATION OF DENTAL IMPLANTOLOGY, Vol. 40,2017

สรุป