เรื่องน่าสนใจทันตกรรมเด็ก
- ฟันน้ำนมผุเกิดจากอะไร ?
- เมื่อไหร่ที่ฟันน้ำนมจะเริ่มผุ
- วิธีสังเกตเมื่อฟันน้ำนมเริ่มผุ
- นัดทำฟันครั้งแรกของ”ลูกรัก”เตรียมตัวอย่างไร
- ทันตแพทย์
ทันตกรรมสำหรับเด็ก
คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญแต่ฟันแท้ เพราะคิดว่าฟันแท้จะอยู่กับลูกไปตลอดชีวิต จึงมองข้ามความสำคัญของฟันน้ำนมไป แท้จริงแล้วฟันน้ำนมมีความสำคัญมาก เพราะ ฟันน้ำนมช่วยทำให้ให้ฟันแท้ที่ขึ้นได้ถูกที่และเรียงสวยงาม
ฟันน้ำนมผุเกิดจากอะไร ?
- มาจากการเลี้ยงดูของครอบครัวการปล่อยให้เด็กนอนหลับคาขวดนมทำให้น้ำตาลที่อยู่ในนมสามารถเข้าไปทำลายเคลือบฟันของเด็กได้เพราะคราบจุลินทรีย์จะย่อยน้ำตาลในนมที่ค้างอยู่บนผิวฟันทำให้เกิดการสะสมของกรดละลายผิวฟันเป็นรู
- เกิดได้จากโครงสร้างของฟันเด็กที่ไม่สมบูรณ์อาจเป็นเพราะคลอดก่อนกำหนดมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยแม่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
- การรับประทานขนมตามใจชอบแล้วไม่ยอมแปรงฟันนั่นเองอีกทั้งพ่อแม่มักมีความเชื่อผิดๆว่าเดี๋ยวฟันน้ำนมก็ต้องหลุดไปมีฟันแท้มาแทนที่จึงไม่ได้ใส่ใจการรับประทานขนมและการแปรงฟันของลูกมากนัก
- พ่อแม่บางท่านคิดว่าลูกสามารถแปรงฟันเองได้แล้วแต่เเท้จริงแล้วเด็กยังไม่สามารถทำความสะอาดฟันอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยตัวเอง
เมื่อไหร่ที่ฟันน้ำนมจะเริ่มผุ
- สามารถเกิดได้ตั้งแต่เด็กมีฟันขึ้นในช่องปาก ซึ่งก็คืออายุประมาณ 6 เดือน เนื่องจากชั้นเคลือบฟันน้ำนมหนาประมาณครึ่งหนึ่งของฟันแท้เท่านั้น ทำให้ฟันน้ำนมผุได้ง่ายกว่ามาก และยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นองค์ประกอบน้อยกว่าอีก โดยฟันน้ำนมซี่หน้าบนจะผุได้ง่ายกว่าฟันหน้าล่าง รวมทั้งอีกจุดที่ผุง่ายก็คือ ฟันกรามด้านบดเคี้ยว เพราะเป็นซี่ใน ขนมหวานมักติดค้างอยู่ในร่องฟัน จึงทำความสะอาดได้ยาก
วิธีสังเกตเมื่อฟันน้ำนมเริ่มผุ
ระยะที่ 1 ฟันผุในระยะเริ่มแรก จะพบว่าเคลือบฟันมีสีขาวขุ่น ด้านๆ ไม่มันวาว เหมือนเคลือบฟันที่ปกติ ซึ่งจะยังไม่แสดงอาการ
ระยะที่ 2 ฟันผุที่ชั้นเคลือบฟันและเนื้อฟัน เนื้อฟันสีขาวขุ่นจะเปลี่ยนเป็นหลุมสีน้ำตาล การผุในช่วงนี้เด็กจะไม่ปวด แต่เมื่อมีการแตกหักของเนื้อฟันจนเกิดรอยผุเป็นรูบนตัวฟัน เด็กจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน ปวดฟัน เวลาเศษอาหารติด
ระยะที 3 ทะลุถึงโพรงประสาทฟัน เด็กจะปวดฟัน โดยจะมีอาการปวดเป็นครั้งคราว เป็นๆ หายๆ ทำให้เด็กต้องทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน ประสาทฟันอักเสบร่วมกับการอักเสบของเหงือกและอวัยวะรอบๆ ฟัน
นัดทำฟันครั้งแรกของ”ลูกรัก”เตรียมตัวอย่างไร
สุขภาพฟันของลูกรัก เป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตของร่างกายเพราะถ้ามีสุขภาพฟันที่ดี จะสามารถช่วยในเรื่องการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้เด็กๆได้รับสารอาหารที่ดีครบ 5 หมู่ และ ฟันน้ำนมยังเป็นจุดเริ่มให้ฟันแท้ขึ้นเรียงสวยงาม
คำถามที่หลายคนสงสัยว่า ควรพาลูกไปพบหมอฟังตั้งแต่เมื่อไหร่ดี คำตอบคือ พาลูกไปหาหมอฟัน เมื่อฟันของลูกเริ่มขึ้นตั้งแต่ซี่แรก เพื่อให้คุณหมอแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพฟันของลูกให้กับคุณพ่อคุณแม่ และเพื่อปลูกฝังให้ลูกรักคุ้ยเคยกับบรรยากาศของห้องทำฟันและคุณหมอฟัน
นัดทำฟันครั้งแรกของลูกคุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร
- บอกความจริงกับลูก อย่าโกหกว่าจะไปสถานที่อื่นอาจจะทำให้ลูกต่อต้านมากขึ้น
- เล่านิทานเกี่ยวกับการทำฟัน เพื่อให้ลูกรู้สึกคุ้นเคยเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา
- ให้ลูกเห็นตัวอย่างที่ดี เช่น พาลูกไปพบคุณหมอฟันพร้อมคุณพ่อคุณแม่หรือพี่ เพื่อให้เกิดการเลียนแบบตัวอย่างที่ดี
- อย่าขู่ลูก เช่น ถ้าดื้อจะพาไปหาหมอจะทำให้ลูกเกิดทัศนคติที่คุณหมอเป็นผู้ร้าย ควรทำให้ลูกรู้สึกว่าคุณหมอคือคุณครูคือเพื่อนที่จะคอยช่วยดูแลฟัน
- ให้ลูกคุ้นเคยกับการแปรงฟัน เมื่อคุณพ่อคุณแม่แปรงฟันให้ลูก อาจซ้อมให้ลูกอ้าปากค้างให้คุณพ่อคุณแม่ดูฟัน เมื่อมาพบคุณหมอฟันจะรู้สึกคุ้นเคยก็จะยอมอ้าปากให้ตรวจฟัน
การจัดฟันในเด็ก
เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ก็สามารถจัดฟันได้ ทำได้เมื่อมีฟันแท้ขึ้นบางส่วนในช่องปาก และมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการจัดฟันเพื่อแก้ไขความผิดปกติของการสบฟัน หรือตำแหน่งขากรรไกรที่ผิดปกติ เมื่อโตขึ้นอาจจะต้องจัดฟันทั้งปากอีกครั้ง
การรักษาทันตกรรมเด็ก
- ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี
- ทำความสะอาดและขัดฟัน
- เคลือบฟลูออไรด์
- เคลือบหลุมร่องฟัน
- อุดฟันน้ำนม
- ถอนฟันน้ำนม
- ใส่เครื่องมือกันช่องว่าง(space maintainer) เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาโดยไม่ซ้อนเก
- รักษารากฟันน้ำนม
- ทำครอบฟันน้ำนม
- จัดฟันในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี