เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับฟันปลอม
ฟันปลอม คือ อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ฟันปลอมสามารถใส่เข้าและถอดออกจากปากของเราได้ แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคย แต่เมื่อเราเริ่มคุ้นเคยจะเริ่มส่งผลให้ระบบบดเคี้ยวโดยรวมทั้งหมดอยู่ในสภาวะสมดุลโดย เพิ่มประสิทธิภาพของการบดเคี้ยวอาหาร และด้านความสวยงามเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจในการเข้าสังคม
เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับฟันปลอม
กรณีที่ทำทั้งขากรรไกรก็อาจเป็นการพิมพ์ปากทั้งแนว (บน หรือล่าง) เพื่อเสริมวัสดุเป็นฐานรากไม่ให้ฟันปลอมหลุด
ฟันปลอมบางส่วนทดแทนซี่ฟันที่หายไปเพียงบางซี่ หรือมากกว่านั้น กรณีที่หายไปเพียงบางซี่ ทันตแพทย์จะกรอแต่งรูปร่างของฟันในบางตำแหน่งให้เป็นที่อยู่ของฐานฟันเทียมและตะขอ เพื่อให้ฟันปลอมสามารถใช้งานได้โดยไม่หลุดออกจากปาก
ฟันปลอมที่ทำหลังจากฟันถูกถอนทันที หรือ ในบริเวณที่ถูกถอนฟันเป็นเวลาน้อยกว่า 6-8 สัปดาห์ การทำแบบจำลองฟันถูกทำก่อนที่ฟันจะถูกถอน และเป็นไปได้ว่ากระดูก และเหงือกมักจะมีการยุบตัวภายหลังจากการถอนฟันในช่วงที่มีการรอแผลหายดี ซึ่งจะส่งผลให้ฟันเทียมลักษณะ นี้มักจะหลวมและจำเป็นต้องเสริมฐานเพื่อให้แน่นขึ้นภายหลัง
เป็นฟันเทียมแบบถอดได้ที่มีการยึดอยู่บนสันเหงือกโดยมีฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ หรือรากเทียมเป็นแกนยึด หากเป็นฟันธรรมชาติจะมีการตัดแต่งให้เหมาะสม เพื่อรองรับฟันเทียม
ครั้งที่ 1 ผู้ป่วยมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและปรึกษา (ในกรณีที่มีฟันเหลืออยู่) บางรายอาจมีการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ เพื่อถอนฟัน
ครั้งที่ 2 กรณีถอนฟัน เป็นไปได้ว่ากระดูก และเหงือกมักจะมีการยุบตัวภายหลังจากการถอนฟันในช่วงที่มีการรอแผลหายดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8-12 สัปดาห์ เบ้าฟันที่ว่างเปล่าจะถูกเติมเต็มด้วยกระดูกรองรับฟัน เมื่อเหงือกและกระดูกฟันอยู่ในสภาวะคงที่แล้วจึงตามมาด้วยขั้นตอนการทำฟันปลอม
ครั้งที่ 3 หลังจากที่ทันตแพทย์ประเมินระะเวลาของเหงือกและกระดูกฟันอยู่ในสภาวะคงที่แล้ว จะนัดคนไข้เข้ามพิมพ์ปากสำหรับทำฟันปลอม ซึ่งอาจมีการพิมพ์หลายๆครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของฟันปลอมที่คนไข้เลือก
ครั้งที่ 4 หลังจากพิมพ์ปาก 10-14 วัน จะได้รับชิ้นงานฟันปลอมที่ทำขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะนัดคนไข้ให้กลับมาใส่ชิ้นงานพร้อมกับมีการแก้ไขในกรณีที่ชิ้นงานทำมาไม่พอดี เมื่อแก้ไขเสร็จก็จะใส่ฟันปลอมชนิดนั้นๆให้คนไข้กลับไปทดลองใช้งาน
ครั้งที่ 5 หลังจากนั้น10-14วัน จะนัดคนไข้กลับมาตรวจหลังทดลองใช้งานฟันปลอม เพื่อทำการตรวจในปากและถามผลการใช้งาน เพื่อแก้ไขให้ดีขื้น
สามารถเลือกทำรากฟันเทียมแทนที่การทำฟันปลอมได้ ซึ่งต้องตรวจโดยทันตแพทย์ว่าคนไข้สามารถทำรากฟันเทียมได้หรือไม่
ข้อดีคือ มีน้ำหนักเบา และราคาถูก
ข้อเสียคือ ไม่ค่อยแข็งแรงเพราะเป็นพลาสติกและอาจเห็นตะขอลวด ที่ใช้สำหรับยึดกับฟัน
ฟันปลอมถอดได้บางส่วนฐานพลาสติก(ฐาน+ฟันซี่แรก) 3,500 บาท ซี่ต่อไป 500 บาท
ฟันปลอมฐานโลหะ โลหะไทเทเนียม
ข้อดี คือ มีความแข็งแรงมากที่สุด น้ำหนักเบา
ข้อเสีย คือ ราคาสูง เห็นสีตะขอเกี่ยวฟันสีโลหะ
ฟันปลอมถอดได้บางส่วนฐานโลหะ RPD(ฐาน+ฟันซี่แรก) 8,000 บาท ซี่ต่อไป 500 บาท
ฟันปลอมฐานแบบยืดหยุ่นหรือแบบวอล์พาส(valplast) มีฐานยืดหยุ่น ทำมาจากวัสดุชนิด thermoplastic
มีความสามารถในการรองรับแรงบดเคี้ยวได้ กระจายแรงได้ เข้ากับเนื้อเยื่อในช่องปากได้ดี มีความยืดหยุ่น สวมใส่ง่าย สวยงามกลมกลืนกับช่องปาก สามารถทำได้ทุกบริเวณ!!!! ที่มีฟันรองรับตะขอฟันปลอมด้านหน้าหลัง
สามารถทำได้เพื่อรอการใส่รากฟันเทียม หรือ มีแผนในการใส่รากฟันเทียมในอนาคตและสามารถทำตะขอฟันปลอมสีกลมกลืนกับสีเหงือก จึงทำให้ไม่เห็นสีตะขอโลหะ
ข้อดี คือ มีความยืดหยุ่น สวมใส่ง่าย สีเหมือนกับฐานและกระจายแรงได้ดี
ข้อเสียคือราคาแพงกว่าฟันปลอมฐานพลาสติก และไม่ แข็งแรงเท่าฟันปลอมฐานโลหะ
ราคาฟันปลอมถอดได้ชนิด Valplast ซี่แรก 5,000 ซี่ ต่อไป 500บาท
การใส่ฟันปลอมในตอนแรกจะมีความรู้สึกแปลกๆ เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาอยู่ในปาก อาจจะต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคย และฝึกในการพูดคุด กัด และ เคี้ยว อาหาร จากนั้นเมื่อใส่ฟันปลอมเป็นประจำทุกๆ วัน จะค่อยๆ ชินไปเอง
มีความเป็นไปได้ว่าเมื่อระยะเวลาผ่านไปหลังจากทำฟันปลอม กระดูกอาจเกิดหดตัวจนรู้สึกว่า “ฟันปลอมหลวม” ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการแก้ไข หรือ ใช้กาวติดฟันปลอมทำให้รู้สึกมั่นใจมากขึ้น
สามารถทำได้ด้วยการใช้สบู่และน้ำ ส่วนคราบกาวที่ติดอยู่ในช่องปากก็สามารถล้างออกด้วยกระดาษทิชชู่ชุบน้ำ หรือด้วยผ้าเนื้ออ่อนชุบน้ำสะอาดนำมาเช็ดฟันปลอมให้ทั่ว
ช่วยsupportบริเวณใบหน้า ทำให้คนไข้มีบุคลิกที่ดีขึ้น ออกเสียงได้ชัด และ มีรูปหน้าและรอยยิ้มที่สวยงาม
วัสดุฐานอะคริลิคหรือฟันปลอมฐานพลาสติก
สามารถทำได้ด้วยการใช้สบู่และน้ำ ส่วนคราบกาวที่ติดอยู่ในช่องปากก็สามารถล้างออกด้วยกระดาษทิชชู่ชุบน้ำ หรือด้วยผ้าเนื้ออ่อนชุบน้ำสะอาดนำมาเช็ดฟันปลอมให้ทั่ว
เมื่อฟันปลอมหัก ควรมาพบทันตแพทย์ โดยมีขั้นตอนการรักษาดังนี้
1. ทันตแพทย์ตรวจเพื่อพิจารณาว่าสามารถซ่อมได้หรือไม่ กรณีที่การแตกหัก มีความเสียหายไม่สามารถรักษาสภาพบดเคี้ยวเดิมได้ แนะนำให้ทำฟันเทียมชิ้นใหม่ ทดแทนการซ่อม
กรณีที่มีการถอนฟันเพิ่มจำนวนมาก ทำให้สูญเสียมิติเดิมของฟันเทียม แนะนำให้ทำฟันเทียมชิ้นใหม่
2. ถ้าพิจารณาแล้วว่าสามารถซ่อมได้ ให้พิมพ์ปากเพื่อเป็นต้นแบบของสภาพเหงือกและฟันในปัจจุบัน
3. ซ่อมโดยการกรอแต่งและบ่มอะคริลิคใหม่ เพื่อเติมฟันหรือเหงือกเทียมหรือตะขอ
4. ทันตแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาใส่ฟันเทียมอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม