Short implant

รากฟันเทียมมีการคิดค้นและพัฒนามามากกว่าห้าสิบปีแล้วทำให้มีการรวบรวมความรู้ตั้งแต่การพัฒนาพื้นผิวของไทเทเนียมให้เข้ากันได้ดีกับร่างกายและยึดติดได้เร็วขึ้นตลอดจนการพัฒนาทำให้รากเทียมมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นค่ายStraumann ที่ทำรากเทียมRoxolid ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างTitanium และZirconium ทำให้รากเทียมมีความแข็งแรงกว่ารากเทียมที่ทำจากไทเทเนียมล้วนๆ

การคิดค้นวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ขนาดความยาวของรากเทียมลดลงจากอดีตค่อนข้างมาก

จากตัวอย่างเคสนี้เคยทำรากฟันเทียมมาเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว(ในฟันหน้า) พอเทียบกับรากเทียมที่มาทำเพิ่มบริเวณฟันหลังจะเห้นว่าขนาดแตกต่างกันค่อนข้างมากเพราะเมื่อวัสดุดีขึ้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำให้ยาวมากอีกต่อไป….

มาพูดถึงShort implant หรือรากฟันเทียมขนาดสั้นในปัจจุบัน(2019) คือรากเทียมที่ขนาดสั้นกว่า7 mm

ถามว่าใช้เมื่อไหร่คำตอบคือใช้เมื่อมีเนื้อที่ของกระดูกจำกัดด้วยอวัยวะสำคัญและหลีกเลี่ยงการปลูกกระดูกที่ไม่จำเป็นเช่นใกล้เส้นประสาทในขากรรไกรล่างหรือใกล้โพรงอากาศไซนัสในขากรรไกรบนเป็นต้น

โดยส่วนมากในกรณีของขากรรไกรล่างที่มีระยะใกล้เส้นประสาทพื้นที่จำกัดมักจะทำร่วมกับการออกแบบComputer guided implant placement.คือการออกแบบและกำหนดตำแหน่งรากฟันเทียมในภาพจำลองสามมิติก่อนที่จะใส่รากจริงเพื่อให้สามารถควบคุมตำแหน่งและความลึกของรากเทียมได้อย่างแม่นยำ

ตัวอย่างเคสที่ทำShort implant เคสนี้ คนไข้ถอนฟันไปนานมากแล้วทำให้ สันเหงือกละลายในแนวสูง ทำให้ระยะของสันกระดูกที่เหลืออยู่ไม่มาก ทำให้ถ้าจะใช้รากฟันเทียมขนาดปกติ จะต้องปลูกกระดูก ซึ่งทำให้การรักษาซับซ้อนขึ้นและต้องรอนานขึ้นกว่าจะได้ฟัน. เมื่อวางแผนการรักษา เนื่องจากบริเวณที่ใส่ฟันเป็นฟันหลัง ไม่ได้เน้นความสวยงาม (ถ้าฟันหน้าจะต้องคำนึงความยาวของฟันด้วย) จึงตัดสินใจใช้ short implant มาช่วย ทำให้คนไข้ไม่ต้องผ่าตัดที่ซับซ้อน และได้ฟันเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าทุกเคสจะใช้ short implant อย่างเช่น ในฟันหลังบน จะเห็นว่าเนื่องจากคนไข้ต้องปลูกกระดูกพร้อมกับยกไซนัสอยู่แล้ว จึงพิจารณาใช้ รากเทียมขนาดปกติ … โดยการพิจารณาต้องพิจารณาหลาบๆองค์ประกอบ เพื่อให้ได้แผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมากที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *