เมื่อเนื้อฟันสูญเสียฟันมาก ไม่ว่าจะเกิดจากการ ผุ แตก ร้าก ทำให้ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุด หรือการทำอินเลย์ ออนเลย์ ได้ จึงพิจารณาทำครอบฟัน
- ขั้นตอนการทำครอบฟัน
- การทำครอบฟันแบ่งตามความซับซ้อน
- ชนิดของครอบฟัน
- ครอบฟันไร้โลหะ
- ความแข็งแรงของครอบฟัน
- เมื่อไหร่ที่เราควรครอบฟัน?
- ระหว่างที่รอครอบตัวจริงจะต้องทำอย่างไร?
- วัสดุที่ใช้ทำครอบฟันชั่วคราว
- อัตราค่ารักษา
- ตัวอย่างการรักษา
- ทันตแพทย์
ขั้นตอนการทำครอบฟัน
การทำครอบฟันใช้เวลาสองครั้ง ได้แก่
- ครั้งที่หนึ่ง แพทย์จะทำการกรอแต่งเนื้อฟันเพื่อรองรับครอบฟัน(Preparation) พิมพ์หรือแสกนเพื่อส่งไปให้แลป จากนั้นทำครอบฟันชั่วคราว
- หลังจากหนึ่งสัปดาห์เมื่อได้รับครอบฟันแล้ว แพทย์จะทำการใส่ครอบฟันและยึดติดครอบฟันด้วยซีเมนต์ถาวร
การทำครอบฟันแบ่งตามความซับซ้อน
- กรณีที่ฟันยังมีชีวิต เนื้อฟันสูญเสียกว้างๆ รอยโรครอยผุห่างจากโพรงประสาทฟัน มีมีการติดเชื้อใดๆ เหงือกรอบๆสุขภาพดี สามารถทำครอบได้เลย
- กรณีที่ฟันยังมีชีวิต เนื้อฟันสูญเสียกว้างๆ รอยโรครอยผุใกล้โพรงประสาทฟัน ยังไม่มีอาการติดเชื้อใดๆ เหงือกรอบๆสุขภาพดี สามารถทำครอบฟันได้ แต่มีโอกาสเกิดประสาทฟันอักเสบ ซึ่งต้องรักษารากฟันถ้ามีการอักเสบในอนาคต
- กรณีที่ฟันยังมีชีวิต เนื้อฟันสูญเสียมาก ไม่เพียงพอต่อการยึดติดครอบฟัน ต้องทำการรักษารากฟันก่อน จากนั้นจึงทำเดือยและครอบฟันตามลำดับ
สรุป
- พิจารณาจากสองส่วนคือ เนื้อฟัน และเหงือก
- ถ้าเนื้อฟันเพียงพอ ทำครอบได้เลย
- ถ้าเนื้อฟันไม่เพียงพอ หรือรอยผุลึก ต้องรักษารากฟัน
- ถ้าความสูงเหงือกมาก ทำให้ฟันเตี้ยต้องทำการตัดแต่งเหงือก(Periodontal crown lengthening) โดยการตัดเหงือกต้องรอให้เหงือกหายประมาณหนึ่งเดือน
- ถ้าเป็นโรคเหงือก ต้องรักษาโรคเหงือกก่อน
ชนิดของครอบฟัน
-
ครอบฟันแบ่งตามชนิดของวัสดุ ได้แก่
- ครอบฟันโลหะ
- โลหะมาตรฐาน(Standard metal)
- พลาเดียม(Palladium)
- Semi-precious
- High-Precious
- ครอบฟันไร้โลหะ
- Zirconia
โดยจะแบ่งย่อยออกไปอีกคือ แบ่งตามการออกแบบการวางตำแหน่งวัสดุของครอบฟัน
- ครอบฟันโลหะล้วน/เซอร์โคเนียล้วน
- ครอบฟันโลหะเคลือบด้วยกระเบื้อง/เซอร์โคเนียเคลือบด้วยกระเบื้อง
- ครอบฟันโลหะ
ครอบฟันไร้โลหะ
- มีความสวยงาม ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ
- มีความใสจากพอร์ซเลน ต่างจาก ครอบที่มีโครงโลหะซึ่งจะทึบเนื่องจากต้องปิดสีดำของโครงด้านใต้
- ความแข็งแรง โดยเฉพาะเซอร์โคเนีย ไม่ต่างกับครอบฟันโลหะ
ความแข็งแรงของครอบฟัน
- เซอร์โคเนียม มีความแข็งแรงใกล้กับ โลหะล้วน
- Full zirconia crown = Full metal crown แต่สวยกว่า
- ส่วนที่เปราะบางและมักจะแตกคือกรณีที่เคลือบด้วยกระเบื้อง โดยจะแตกตรงรอยต่อระหว่างวัสดุ
เมื่อไหร่ที่เราควรครอบฟัน?
1.ต้องมีการอุดฟันขนาดกว้าง
เมื่อฟันผุ หรือแตกร้าวเกินกว่าครึ่งของความกว้างเนื้อฟัน ทันตแพทย์จำเป็นต้องครอบฟันซี่นั้นไว้เนื่องจากเนื้อฟันส่วนที่เหลือจะมีความเปราะบางอย่างมากจนอาจได้รับความเสียหายเพิ่มเติมได้
2.หลังการรักษารากฟันและรากฟันเทียม
การรักษารากฟันจะทำให้ฟันกลวงและทำให้ส่วนเนื้อฟันที่เหลือเปราะบาง มีโอกาสแตกร้าวได้ ดังนั้นฟันซี่ที่ได้รับการรักษาต้องมีการสวมครอบฟันไว้เพื่อป้องกันการแตกร้าวที่อาจจะเกิดขึ้นได้
3.ฟันร้าว
เป็นภาวะที่เกิดการแตกร้าวภายในตัวฟันจนสร้างความเจ็บปวดขึ้นขณะเคี้ยว แรงกดจากการเคี้ยวนี้จะลงไปยังช่องร้าวทำให้มีความรู้สึกเหมือนฟันจะแตกออกจากกัน
การครอบฟันจะช่วยคลุมฟันเอาไว้ด้วยกัน กระจายแรงกดให้ไปทั่วทั้งปาก และช่วยลดความเจ็บปวดลงได้
4.ยอดของฟันแตกหัก
ส่วนยอดของฟันมักจะแตกหักออกเนื่องจากแรงกระทบ หรือฟันผุขนาดใหญ่ เนื่องจากส่วนยอดฟันจะมีหน้าที่หลักคือ การรับแรงกดจากการเคี้ยวทำให้ต้องครอบฟันทั้งหมดไว้ เพื่อป้องกันการแตกหักเพิ่มเติม
บางครั้งการแตกหักนี้อาจลงลึกไปถึงกระดูกจนทำให้กระบวนการครอบฟันมีระยะเวลายาวนานขึ้น นั่นหมายถึงต้องมีการเล็มส่วนกระดูกและเหงือกลงไปยังชั้นที่แตกร้าว เพื่อให้ขอบครอบฟันสามารถวางลงบนเหงือกและเนื้อฟันที่สุขภาพดีได้
5.ฟันเสื่อมสภาพมากเกินไป
ถ้าผู้ป่วยมีนิสัยชอบบดฟัน ฟันอาจจะหดสั้นลงตามกาลเวลาได้
นอกจากนั้นฟันยังอาจเสื่อมสภาพ สึกกร่อนจากการได้รับกรดจากบางโรค เช่น กรดไหลย้อน (GERD) โรคบูลิเมีย หรืออาหารที่มีกรดสูงได้อีกด้วย
.บางครั้งชั้นเคลือบฟันจะสึกหายไปโดยสมบูรณ์จนไปถึงชั้นเนื้อฟันอ่อน ๆ ได้ตามกาลเวลาจนทำให้การบดกัดไปทำลายฟันได้
วิธีการรักษาให้ฟันกลับมามีขนาดปกติคือ การครอบฟัน
6.รูปลักษณ์ของฟันไม่พึงประสงค์
เจ้าของฟันอาจจะไม่พอใจกับรูปร่าง ช่องว่าง และสีของฟัน จึงทำให้การครอบฟันเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและทำให้ฟันหน้าสวยงามเป็นธรรมชาติที่สุด
ระหว่างที่รอครอบตัวจริงจะต้องทำอย่างไร?
(รูปแรก)ในขั้นตอนการรักษาคนไข้ที่ฟันแตกหรือครอบฟันเดิมแตก
แพทย์จะทำการกรอแต่งฟัน หรือ รื้อครอบฟันเดิมออกจากนั้นทำการพิมพ์หรือแสกนในช่องปาก เพื่อส่งให้ช่างเทคนิคทันตกรรมทำครอบฟันตัวจริงขึ้นมา
(รูปที่สอง)ระหว่างที่รอ ก็จะทำครอบฟันชั่วคราวใส่ให้คนไข้ โดยวัสดุที่ใช้ทำจะเป็น อะคริลิค หรือไม่ก็ เรซิน(คล้ายวัสดุอุดฟัน) ที่จะมีความคงทนในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ โดยจะมีคำแนะนำในการรักษา คือ ต้องระวังการใช้กัดของแข็ง ของเหนียว เนื่องจากครอบชั่วคราวอาจจะหลุดได้
(รูปที่สาม) หลังจากได้ครอบฟัน ทันตแพทย์จะทำการใส่ครอบฟันถาวรและยึดติดด้วยซีเมนต์ถาวรเป็นอันเรียบร้อยค่ะ
วัสดุที่ใช้ทำครอบฟันชั่วคราว
ครอบฟันชั่วคราวจะใช้สำหรับให้คนไข้ใช้ชั่วคราวขณะที่รอทำครอบฟันจริง โดยมักทำจาก เรซิน อะคริลิค ,PMMA,PEEK
ใช้ได้นานแค่ไหน
อายุของครอบฟันชั่วคราวจะมีตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์จนถึงหกเดือน ขึ้นอยู่กับวัสดุและกระบวนการทำครอบชั่วคราว
วัตถุประสงค์ในการทำครอบฟันชั่วคราว
- ทำครอบฟันชั่วคราวเพื่อปกป้องเนื้อฟันที่อยู่ข้างใต้ ขณะที่รอครอบฟันจริง
- กรณีรากฟันเทียม จะทำครอบชั่วคราวเพื่อแต่งเหงือก(Gingival molding)
- ถ้าทำครอบหลายๆซี่ ในคนไข้ไม่มีฟันนานๆ การใช้ครอบชั่วคราวเพื่อช่วยยกความสูงของฟันทั้งขากรรไกร ให้คนไข้ทดลองเคี้ยวด้วยการสบฟันใหม่
อัตราค่ารักษา
ตัวอย่างการรักษา