ทันตกรรมทั่วไป
งานทันตกรรมทั่วไป คือการตรวจวินิจฉัย การถ่ายภาพเอกซเรย์ ทันตแพทย์ให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษา เพื่อให้ฟันมีสุขอนามัยที่ดี มีอายุการใช้งานฟันที่ยาวนานและเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงที่สุด
เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับทันตกรรมทั่วไป
ขูดหินปูน
- การขูดหินปูนและขัดฟัน(scaling and polishing)
- หินปูนเกิดจากอะไร ?
- เริ่มขูดหินปูนตั้งแต่อายุเท่าไหร่?
- ถ้าไม่ขูดหินปูนจะเกิดผลเสียอย่างไร
อุดฟัน
ถอนฟัน
- การถอนฟันคืออะไร
- ถอนฟันในกรณีใดบ้าง
- ขั้นตอนการถอนฟัน
- การดูแลหลังถอนฟัน
- ถอนฟันออกไปแล้วไม่ใส่ได้ไหม จะเป็นอย่างไร
ขั้นตอนการรักษา
การขูดหินปูนและขัดฟัน(scaling and polishing)
การขูดหินปูน
การขูดหินปูนคือ การกำจัดคราบหินปูนที่ติดบนผิวฟันซึ่งเป็นสาเหตุของฟันผุและโรคเหงือก ส่วนการขัดฟันจะช่วยให้ฟันกลับมาเงางามได้ดังเดิม
หินปูนเกิดจากอะไร ?
เกิดจากแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัวเนื่องจากมีธาตุแคลเซียมจากน้ำลายเข้าไปตกตะกอนซึ่งจะประกอบด้วยเชื้อโรค ติดอยู่บนตัวฟัน แม้ว่าจะบ้วนน้ำก็ไม่สามารถหลุดออกได้ เมื่อทับถมกันมากๆ คราบจุลินทรีย์ นี้เป็นสาเหตุของฟันผุและโรคเหงือก
เริ่มขูดหินปูนตั้งแต่อายุเท่าไหร่?
สามารถขูดหินปูนได้ทุกวัย แม้กระทั่งในวัยเด็กที่มีฟันน้ำนมขึ้นแล้วไปจนกระทั่งผู้สูงอายุ
ถ้าไม่ขูดหินปูนจะเกิดผลเสียอย่างไร
จะทำให้เกิดฟันผุและโรคเหงือก(โรคปริทันต์)โดยมีอาการเบื้องต้นคือ
1. เลือดออกขณะแปรงฟัน
2. เหงือกบวมแดง
3. มีกลิ่นปาก
4. เหงือกร่น
5. มีหนองออกจากร่องเหงือก
6. ฟันโยก
7. ฟันเคลื่อนออกจากกัน
การอุดฟัน(Filling)
การอุดฟันเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาฟันผุที่ไม่รุนแรงจนถึงโพรงประสาทฟัน เพื่อป้องกันมิให้ฟันผุลุกลามต่อไป เป็นการบูรณะฟันให้กลับมามีความสวยงามอีกครั้ง และสามารถที่จะทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน
วัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน วัสดุสีเหมือนฟัน (Composite Resin Filling) Tooth-colored วัสดุอุดฟันจำพวกเรซิ่นหรือคอมโพสิตเรซิ่นจะมีสีเหมือนฟันธรรมชาติ มีความสวยงามและแข็งแรง
ขั้นตอนในการอุดฟัน
1,ทันตแพทย์จะกรอเนื้อฟันที่ผุซึ่งจะมีการติดเชื้อออก
2. ทันตแพทย์จะทำการใส่วัสดุรองพื้น ซึ่งวัสดุดังกล่าวจะช่วยลดการเสียวฟัน
3. ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน (Composite Resin Filling) วัสดุชนิดนี้จะแข็งตัวได้ด้วยการฉายแสงจากเครื่องฉายแสงทางทันตกรรม โดยต้องอาศัยสารยึดติด (Bonding) ช่วยให้ยึดติดกับฟัน
การดูแลหลังการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน
1. หากฟันที่อุดด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ถ้าวัสดุหรือตามรอยขอบเปลี่ยนสี ควรให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปาก
2. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟันเคี้ยว กัด ฉีก อาหาร ที่เหนียวหรือแข็ง
3. งดชา กาแฟ และการสูบบุหรี่ หรือ สารติดสีอื่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดคราบที่ฟัน
4. ปกติแล้ว วัสดุอุดฟันจะอยู่ได้นานหลายปี แต่อย่างไรก็ตามวัสดุอุดฟันจะอยู่ได้นานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาความสะอาด ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน และควรบูรณะฟันใหม่หากตรวจพบว่าวัสดุเสื่อมสภาพ
5. หลังจากอุดฟันมาระยะหนึ่ง หากเห็นว่าฟันที่อุดมานั้นมีขอบแหลมคม รู้สึกว่าฟันแปลก ๆ หรือ กัดฟันมีจุดสูง จุดกระแทก หรือเสียวฟัน ตอนกัดฟัน ให้ติดต่อกลับมาตรวจเช็คกับทันตแพทย์อีกครั้ง
การถอนฟัน(Teeth Extraction)
การถอนฟัน(Teeth Extraction) การถอนฟัน คือการรักษาสุขภาพช่องปากให้มีความปกติมากที่สุด แต่ต้องยอมรับการสูญเสียฟันของเราไป
ถอนฟันในกรณีใดบ้าง
- ฟันผุมากจนไม่สามารถรักษาต่อด้วยการอุดฟัน
- ไม่สามารถรักษารากฟันได้แล้ว
- ไม่มีประโยชน์ต่อการบดเคี้ยว
- ฟันคุด
- ถอนเพราะต้องจัดฟันเพื่อให้แนวฟันทั้งบนและล่างมีความสมมาตรกัน
ขั้นตอนการถอนฟัน
1. ผู้ป่วยมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและปรึกษา โดยเมื่อจำเป็นต้องถอนฟัน ทันตแพทย์ จะเริ่มทายาชา ก่อนที่จะฉีดยาชาเฉพาะที่
2.เมื่อชาเต็มที่แล้ว ทันตแพทย์จะเริ่มการถอนฟัน โดยที่คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บ แต่จะรู้สึกถึงแรงกดเพียงเล็กน้อย
3.เมื่อทันตแพทย์ถอนฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะให้คนไข้กัดผ้าก็อซให้แน่นประมาณ 1 ชม.เลือดก็จะหยุดไหล
การดูแลหลังการถอนฟัน
- กัดผ้าก็อซให้แน่นประมาณ 1 ชม.เลือดก็จะหยุดไหล พยายามไม่เปลี่ยนผ้าก๊อซไม่เช่นนั้นเลือดจะยิ่งซึมเพิ่มออกมา
- หลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำแรงๆ 24 ชั่วโมงแรก งดการบ้วนน้ำลายและเลือดที่ซึมออกมา
- ห้ามเอานิ้วไม้จิ้มฟันแคะบริเวณที่เย็บแผล
- ใช้แปรงสีฟันทำความสะอาดในช่องปากตามปกติแต่ระวังแผลที่ถอนฟัน
- การถอนฟันจะไม่มีอาการบวมหรืออาจบวมเล็กน้อยในคนไข้บางรายแต่อาการเจ็บจะหายไปภายใน 1-3 วัน
- สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติแต่อย่าออกกำลังกายเกินควร
- ถ้ามีอาการบวมหรือรู้สึกมีอาการผิดปกติควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูใหม่
ถอนฟันออกไปแล้วไม่ใส่ได้ไหม จะเป็นอย่างไร
- อาหารติดฟันเยอะขึ้น เพราะระดับของฟันเริ่มไม่เท่ากันทำให้เกิดช่องว่าง
- ฟันข้างเคียง ล้มเข้าหาช่องว่าง
- ฟันคู่สบฝั่งตรงข้ามจะยื่นออกมาเพื่อหาคู่สบ
เมื่อถอนฟันไประยะหนึ่ง กระดูกขากรรไกรมักจะละลายตัวลง และฟันข้างๆจะล้มมาในช่องทำให้ช่องใส่ฟันแคบลง ทำให้ใส่ฟันได้ยากขึ้น
ระบบการย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารลดลง
สูญเสียความมั่นใจ รอยยิ้ม และปัญหาในการพูด ถ้าสูญเสียฟันหน้าไป
จะเห็นว่าปัญหาเล็กๆ ที่ดูไม่เล็กนี้ค่อนข้างมีผลกระทบต่อฟันโดยรวมเลยทีเดียว ถ้ามีปัญหาควรแก้ตั้งแต่ต้น ก่อนที่ปัญหาต่างๆจะเกิดขึ้น ที่ดีที่สุดคือ พยายามรักษาฟันของเราให้แข็งแรง อยู่กับเราไปนานๆ