ฟันคุด
คำถามที่หลายๆ คนสงสัยเกี่ยวกับการผ่าฟันคุด จำเป็นแค่ไหนที่ต้องผ่าออก smile and shine เรามีคำตอบ
ก่อนผ่าฟันคุด กับ คุณหมอเฉพาะทาง
อาการปวดฟัน จากปัญหา ฟันคุด เป็นอีกหนึ่งในปัญหาสุขภาพในช่องปากและฟันที่พบได้บ่อยๆ และมักจบลงด้วยการที่ทันตแพทย์แนะนำให้ผ่าฟันคุดออกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหลายๆ คนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการฟันคุดนี้ว่า จำเป็นแค่ไหนที่ต้องผ่าออก และการผ่าฟันคุดออกนั้น มีข้อควรปฎิบัติ ตัวอย่างไร เรามีคำตอบมาฝากค่ะ
เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับฟันคุด
- ฟันคุด คืออะไร
- สาเหตุการเกิดฟันคุด
- อาการฟันคุด เมื่อเป็นมีลักษณะอย่างไร
- ทำไมต้องผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด
- ขั้นตอนการถอน/ผ่าฟันคุด
- คำแนะนำหลังจากผ่าตัดในช่องปาก
- อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด
- ผ่าฟันคุดกี่วันหาย?
- ควรเอาฟันคุดออกเมื่อไหร่
- ผ่าฟันคุดห้ามกินอะไรบ้าง
- ฟันคุดไม่ถอน/ผ่าออกได้ไหม
- ถอนฟันคุดจะต้องรอให้เห็นฟันคุดก่อนไหม
- สามารถป้องกันการเกิดฟันคุดได้ไหม
- Testimonial
- ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยกรรมช่องปาก
ฟันคุด คืออะไร
ฟันคุด ( Impacted Tooth, Wisdom Tooth ) คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกออกมาเรียงตัวกับฟันซี่อื่นๆ ได้ตามปกติ โดยอาจโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน โดยมักพบบริเวณฟันกรามแท้ซี่ที่สามล่าง (Lower third molar) ฟันกรามซี่สุดท้าย ฟันกรามน้อย หรือฟันเขี้ยว
สาเหตุการเกิดฟันคุด
ฟันคุดเกิดจากมีฟัน เนื้อเยื่อ หรือกระดูกปิดขวางการงอกของฟันอยู่ จนทำให้ฟันไม่สามารถเติบโตพ้นเหงือกออกมาได้ แล้วกลายเป็นฟันคุด ปกติแล้วฟันคุด คือฟันซี่ที่ควรจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 18-25 ปี โดยอาจโผล่ขึ้นมาในลักษณะ ตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวราบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันซี่ข้างเคียงเสมอและเป็นไปได้ว่าจะเบียดฟันซี่ข้างๆ หรืองอกขึ้นมาในขากรรไกร จึงเป็นที่มาที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรง สร้างความทรมานแก่คนไข้
อาการฟันคุด เมื่อเป็นมีลักษณะอย่างไร
ฟันคุด ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากตัวฟันไม่โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก ต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้
- ปวดมากแบบไม่สามารถระบุได้ว่าปวดฟันซี่ใด
- ปวดบวม เป็นหนอง เพราะเหงือกอักเสบ
- บางรายอาจปวดศีรษะร่วมด้วย เพราะอาจเกิดการกดทับเส้นประสาทที่รากฟัน
- ฟันใกล้เคียงอาจถูกดันจนทำให้ฟันโยก หรือหักได้
- แต่ในบางรายอาจไม่พบอาการปวด
ทำไมต้องผ่าฟันคุด ถอนฟันคุด
- เพื่อป้องปัญหาเหงือกอักเสบ เพราะเมื่อฟันคุดไม่สามารถโผล่ออกมาทั้งซี่ฟัน จะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟัน ไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย
- มีโอกาศที่ฟันข้างเคียงผุ เนื่องจากซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ข้างเคียงทำความสะอาดได้ยากอาจะทำให้ฟันผุได้
- ฟันคุดมีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ เมื่อมีฟันคุดเนื้อเยื่อรอบอาจพัฒนาเป็นถุงน้ำหรือเนื้องงอกได้
- เพื่อป้องกันใบหน้าผิดรูป ฟันคุดส่วนมากอยู่ติดกับขากรรไกร เมื่อฟันคุดเกิดการเคลื่อนตัวเบียดขากรรไกรไปเรื่อยๆ จะทำให้ใบหน้าผิดรูปได้ หรืออาจทำให้ขากรรไกรหักได้
- เพื่อการจัดฟัน ให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่น ๆ
ขั้นตอนการถอน/ผ่าฟันคุด
- เอ็กซเรย์เพื่อตรวจตำแหน่งของฟันคุด ทันตแพทย์จะวางแผนการรักษา
- การผ่าฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างหลายคนกังวล ทันตแพทย์จะใช้ยาชาแบบทาก่อน ที่จะฉีดยาชาเฉพาะที่ เพื่อระงับความรู้สึก
- ทันตแพทย์เปิดเหงือกเพื่อให้เห็นคุดซี่นั้นๆโดยที่คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บ
- ทันตแพทย์ใช้เครื่องกรอความเร็วสูง ตัดฟันออกมาฟัน เนื่องจากยิ่งเร็ว แผลเล็ก คนไข้จะเจ็บน้อย
- ล้างทําความสะอาดก่อนเย็บแผลปิด เมื่อทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
- ตัดไหมและทำความสะอาดแผล หากเป็นไหมละลายไม่จำเป็นต้องตัดไหม
คำแนะนำหลังจากผ่าตัดในช่องปาก
1.กัดผ้าก๊อซ นิ่งๆ แน่นๆ กัดผ้า กลืนน้ำลาย ไม่ให้พูดหรือบ้วนน้ำลาย ให้หลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำแรงๆ โดยเฉพาะ24ชั่วโมงแรก
2.หลังจากกัดผ้าก๊อซครบ 1 ชมแล้ว ให้เอาผ้าก๊อซออก ถ้าเลือดยังไม่หยุดไหล ให้เอาผ้าก๊อซที่เตรียมไว้สำรอง กัดซ้ำอีก 1 ชม หรือกัดจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
(ลักษณะของเลือดที่ไหลไม่หยุดและมีปัญหาคือ เลือดสีแดงสดไหลออกมาอย่างควบคุมไม่ได้ตลอดเวลา)
3.ห้ามเอานิ้ว ไม้จิ้มฟัน แคะบริเวณแผล และห้ามดูดแผลเล่น
4.เมื่อยาชาหมดฤทธิ์อาจมีอาการกรามตึง เปิดปากลำบาก และมีความเจ็บปวดบ้าง ให้ทานยาแก้ปวดร่วมกับการประคบเย็น 72 ชั่วโมงและประคบอุ่นในวันต่อ มา
5.รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
6.รับประทานอาหารโดยใช้อีกข้างไปก่อน หลีกเลี่ยงอาหารร้อน เผ็ด หรือรสจัดที่อาจจะระคายเคืองแผล
7.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
8 .การทำความสะอาด สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ โดยบริเวณแผลหรือใกล้เคียงต้องแปรงเบาๆ
9.ในช่วงสัปดาห์แรก ให้หลีกเลี่ยงน้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์
10.ทำงานประจำวันได้ แต่อย่าออกกำลังกายเกินควร
ถ้ามีอาการบวมหรือรู้สึกมีอาการผิดปกติควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูใหม่
อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด
- มีเลือดสดๆสีแดงไหลจากแผลผ่าตัดมากกว่าปกติ
- บางท่านมีไข้ หรือมีการติดเชื้อหลังการผ่าตัด
- อาการปวดบวม มีกลิ่นปาก มีอาการเจ็บแปลบๆ
- ชาที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น อาจเกิดขึ้นจากยาชา หรือการกระเทือนที่บริเวณปลายประสาท
หากมีอาการเหล่านี้ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรักษา
ผ่าฟันคุดกี่วันหาย?
อาจมีอาการปวดและบวมมากๆประมาณ 2-3 วัน แต่จะหายไปได้เอง และแผลใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะเป็นปกติ
ควรเอาฟันคุดออกเมื่อไหร่
หากพบว่ามีฟันคุดหรือพบอาการปวดฟันเมื่อไหร่ ควรนำฟันคุดออกให้เร็วที่สุด การผ่าตัดในช่วงที่อายุยังน้อย สามารถทำได้ง่าย แผลหายเร็ว
ผ่าฟันคุดห้ามกินอะไรบ้าง
- ห้ามรับประทานอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด
- ห้ามอมน้ำแข็ง เนื่องจากจะทำให้แผลไหม้จากความเย็นได้
ฟันคุดไม่ถอน/ผ่าออกได้ไหม
โดยปกติทันตแพทย์มักแนะนำให้นำฟันคุดออกในทุกกรณี แต่อาจจะไม่นำฟันคุดออกทันที เมื่อทันตแพทย์วินิจฉัยว่าควรติดตามความเปลี่ยนแปลงของฟันคุดซึ่งใช้เวลาหลายเดือนเพื่อให้ฟันคุดเคลื่อนตัวมายังจุดที่เหมาะสมแก่การผ่า
เมื่อพบฟันคุดแล้วไม่ผ่าออกได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ รวมด้วย เช่น ตำแหน่งของฟันคุด หรืออายุ ดังนั้นควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกตอง
ถอนฟันคุดจะต้องรอให้เห็นฟันคุดก่อนไหม
คำตอบคือไม่จำเป็นต้องรอให้เห็นฟันคุด สามารถเอาออกได้ทันที
สามารถป้องกันการเกิดฟันคุดได้ไหม
ฟันคุดเป็นฟันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงไม่สามารถป้องกันได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติ จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
Testimonial
ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยกรรมช่องปาก
ทพญ.พัชรินทร์ สอดศรี (คุณหมอไก่)
ทันตกรรมสาขาศัลยกรรมช่องปาก
DDS., Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University, Thailand, 2001
Certificate in Oral and Maxillofacial Surgery,Mahidol University