Tag Archives: ปลูกกระดูก
การยกไซนัสและปลูกกระดูกในขากรรไกรบน
ไซนัส เป็น โพรงอากาศที่อยู่ในกระโหลกศรีษะ โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินหายใจ โดยจะเชื่อมต่อกับโพรงจมูก ผนังด้านในของไซนัสจะบุด้วยเนื้อเยื่อบางๆซึ่งเป็นเนื้อเยื่อกลุ่มเดียวกับทางเดินหายใจส่วนอื่นๆ ความที่ไซนัสเป็นลักษณะโพรงอากาศ ทำให้กระโหลกศรีษะเรามีน้ำหนักเบาลง และทำให้การพูดมีเสียงก้องกังวาน ไซนัสของทุกคนหน้าตาเหมือนกันหรือไม่ โพรงอากาศไซนัส เป็นโพรงอากาศที่มีเนื้อเยื่อทางเดินหายใจบุเหมือนกัน แต่แต่ละคนมีรูปร่างไซนัสไม่เหมือนกัน บางคนแคบ บางคนกว้าง [...]
การปลูกกระดูกในทันตกรรมรากฟันเทียม
รากฟันเทียม จะยึดในขากรรไกรด้วยกระบวนการ osseointegration คือมีการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกแทรกไปในผิวของรากเทียมที่มีความขรุขระ และจะยึดได้อย่างแข็งแรงถ้ามีการสร้างเนื้อเยื่ออย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คนไข้ไม่มีกระดูก หรือกระดูกเพียงพอ รากฟันเทียมก็ไม่สามารถยึดอยู่ได้ ดังนั้น จึงต้องทำการปลูกกระดูก เพื่อให้รากฟันเทียมแข็งแรงและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม กระบวนการปลูกกระดูก ใช้เวลานานแค่ไหน เซลล์กระดูกใช้เวลาประมาณสองเดือน [...]
การใช้เลือดของผู้ป่วยมาใช้ในการปลูกกระดูก
รากฟันเทียมจะอยู่ได้แข็งแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับกระดูกที่รองรับ ถ้ามีกระดูกที่รองรับเพียงพอ รากฟันเทียมที่ปลูกไปจะแข็งแรง คนไข้ที่มาทำรากฟันเทียมจะสงสัยว่าทำไมคุณหมอต้องเจาะเลือด ทำฟัน แล้วทำไมต้องมาเจาะเลือดจากแขน วันนี้จะมีคำตอบค่ะ เลือดที่เจาะไปนี้ หมอจะนำไปเข้าเครื่อง centrifugue หรือเครื่องปั่นเหวี่ยงความเร็วสูง โดยนำไปใส่หลอดแก้ว พอเราปั่นครบเวลาแล้ว เราจะได้สารสีเหลืองอ่อน มีความยืดหยุ่น [...]
ทำไมรากฟันเทียม ต้องทำร่วมกับการปลูกกระดูก
เมื่อเราสูญเสียฟันและปล่อยระยะเวลาผ่านไปนาน กระดูกของเราจะค่อยๆละลายลดลงไปโดยเฉพาะในฟันหน้า ฟันหน้าเป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างยาก เพราะนอกจากจะต้องทำให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกแล้ว จะต้องทำให้เกิดความสวยงามกลมกลืนกับฟันซี่อื่นๆ และ การที่ฟันจะยึดติดและสวยงามได้จะต้องมีพื้นฐานอยู่บนกระดูกที่ดี ในกรณีที่ฟันหน้าได้ถูกถอนไปจากอุบัติเหตุหรือจากสาเหตุโรคเหงือกที่จะมีการสูญเสียกระดูกเบ้าฟันค่อนข้างเยอะ โดยทั่วไปกรณีฟันหน้าจะต้องมีการปลูกกระดูกเกือบทุกเคสประมาณ 70-80% การปลูกกระดูกมี 2 วิธี 1. การนำกระดูกของตัวคนไข้เองมาปลูก [...]